ตอบกระทู้ 
 
คะแนนกระทู้:
  • 0 Votes - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
เลือกกรอบพระหลวงพ่อคูณอย่างไรให้เหมาะสม?
Tue, 24 Aug 21, 14:07
Post: #1
เลือกกรอบพระหลวงพ่อคูณอย่างไรให้เหมาะสม?
[Image: S__38641699.jpg]
เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วสำหรับพระอภิญญาและพุทธคุณของหลวงพ่อคูณนั้น เป็นที่เลื่องชื่อในดินแดนสยาม องค์พระต่างๆ ของท่านนั้นมีมูลค่าทั้งทางด้านจิตใจและทางการเงิน นอกจากนี้การเลือกกรอบพระสำหรับใส่หลวงพ่อคูณหรือเลี่ยมกรอบพระนั้น เมื่อดูเผินๆ ก็เหมือน ๆ กันหมดแต่ในความเป็นจริงแล้วก็มีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปไม่น้อยเลยทีเดียว ในบทความนี้จึงจะขอพาทุกๆ ท่านไปทำความเข้าใจหลักในการเลือกกรอบพระ เลี่ยมพระและไปศึกษาประวัติของหลวงพ่อคูณและพุทธคุณของท่านคร่าวๆ กันครับ

ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ

หลวงพ่อคูณ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ที่บ้านไร่ หมู่ 6 ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนาที่อยู่ห่างไกลความเจริญ บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน

รำเรียนศึกษา

บิดามารดาของหลวงพ่อคูณ ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ลูกทั้ง ๓ คน ยังเป็นเด็ก หลวงพ่อคูณกับน้อง ๆ จึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว สมัยที่หลวงพ่อคูณอยู่ในวัยเยาว์ ๖-๗ ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่ สถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน มิได้มีโรงเรียนทำการสอนเช่นในสมัยปัจจุบัน นอกจากเรียนภาษาไทยและขอมแล้ว พระอาจารย์ทั้ง ๓ ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วั

อุปสมบท

หลวงพ่อคูณอุปสมบท เมื่ออายุได้ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๘๗ (หนังสือบางแห่งว่า ปี ๒๔๘๖) ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า “ปริสุทโธ”
บุคคลทั่วไปหากมิได้สัมผัสตัวตนที่แท้จริงของหลวงพ่อคูณ มักจะมีความเข้าใจว่า หลวงพ่อคูณเป็นพระที่แกร่งกล้าอาคม แต่หากได้พบและได้สนทนาธรรม จะทราบทันทีว่า ท่านคือ "ปราชญ์แห่งที่ราบสูง" หลวงพ่อคูณได้สนทนาธรรมกับหลาย ๆ คน ต่างกรรมต่างวาระแสดงให้เห็นความเป็นปราชญ์ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ทีท่าตรงไปตรงมา

สร้างวัตถุมงคล


หลวงพ่อคูณ ท่านได้สร้างวัตถุมงคล ซึ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ.๒๔๙๓ "ใครขอ กูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน" เป็นคำกล่าวของท่าน เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันอันตรายต่างๆ ได้
ท่านั่งยองของหลวงพ่อคูณ
ทวงท่าอันเป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อคูณ ซึ่งท่านได้ให้เหตุผลว่า เป็นท่าที่สบายที่สุด พร้อมที่ลุกเดินไปไหนมาไหนได้ทันที
นอกจากนี้หลวงพ่อคูณได้จัดสร้างโรงพยาบาลถึง 3 หลัง ตลอดจนโรงเรียนและอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้งยังได้บริจาคเงินทองเพื่อช่วยเหลือสาธารณะสุขต่างๆ ทุกๆวัน แต่ละเดือนเป็นจำนวนหลายแสนบาท

การเลือกกรอบพระที่เหมาะสม

การเลือกกรอบพระและเลี่ยมพระที่เหมาะสมให้กับองค์พระที่เราบูชานั้น มีวิธีการเลือกที่ต้องอาศัยความเข้าใจและแบ่งเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้

1. ขนาดของกรอบพระหลวงพ่อคูณ การเลี่ยมกรอบพระโดยทั่วไป ใช้แผ่นเงินแผ่นทองขึ้นเป็นรูปทรงพระและแกะลายเพื่อความสวยงามด้านหลังจะพับปิดแผ่นหลังโดยช่างผู้ชำนาญ ผู้สวมใส่จะไม่สามารถเปิดปิดกรอบได้เอง ซึ่งขนาดกรอบพระจะต้องได้ตามองค์พระไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป

2.ศึกษาองค์พระที่จะนำมาเลี่ยมใส่กรอบ ซึ่งการเลือกกรอบและรูปแบบการเลี่ยมที่ดีนั้น จะต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์พอสมควร ยกตัวอย่างเช่น การเลี่ยมแบบยกซุ้มที่จะมีความประณีตสวยงาม เป็นต้น ซึ่งกรอบพระทั้งเลี่ยมเงิน เลี่ยมทองล้วนเหมาะสมกับองค์พระหลวงพ่อคูณทั้งสิ้น
รูปแบบกรอบพระหลวงพ่อคูณที่เราแนะนำ
ด้วยความศรัทธาของเหล่าลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสจึงต้องการรักษาองค์พระหลวงพ่อคูณ เราจึงขอแนะนำ

กรอบที่เหมาะสมซึ่งมีดังนี้

1.กรอบพระหลวงพ่อคูณเลี่ยมทองคำ จะมีลักษณะคล้ายรูปทรงกลมกระชับกับองค์พระเลี่ยมทองรอบๆ มีความสวยงามเปี่ยมด้วยความศรัทธา

2.กรอบพระหลวงพ่อคูณเลี่ยมเงิน จะมีลักษณะคล้ายรูปทรงกลมกระชับกับองค์พระเลี่ยมทองรอบๆ เช่นกันกับกรอบเลี่ยมเงิน มีความสวยงามเปี่ยมด้วยความศรัทธา

3.กรอบพระตลับทองหลวงพ่อคูณ จะมีลักษณะทรงกล่องสี่เลี่ยมทองที่ขอบกับส่วนด้านหลัง มีความสวยงาม ฉลุด้านข้างด้วยลวดลายที่สวยงาม

แนะนี้คือความรู้และวิธีการเลือกกรอบพระหลวงคูณที่เรานำมาฝากทุกๆ ท่าน เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
ค้นหาข้อความทั้งหมดของสมาชิกท่านนี้
อ้างถึงข้อความนี้ในการตอบกระทู้
ตอบกระทู้ 


** ข้อแตกต่างระหว่างการตอบกระทู้โดยใช้กล่อง comment ของ Facebook กับกล่องตอบข้อความของทางเว็บ


ไปยังหัวข้อ:


ผู้ที่กำลังดูกระทู้นี้: 1 ผู้เยี่ยมชม