คนที่กำลังตัดสินใจจะซื้อบ้านใหม่ โดยเฉพาะการเลือกซื้อจากโครงการบ้านจัดสรรค่ายต่าง ๆ ทั้งที่เป็นโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม รวมไปถึงโครงการคอนโดนั้น นอกจากจะต้องพิจารณาทำเลและดีไซน์ของโครงการให้ตรงกับโจทย์ความต้องการมากที่สุดแล้ว อีกตัวแปรที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ “แหล่งเงิน” สำหรับการใช้ซื้อโครงการบ้านหรือคอนโดพร้อมอยู่นั้น ๆ ด้วย
คนซื้อบ้านส่วนใหญ่นั้นมักจะมีเงินก้อนหนึ่งสำหรับการวางดาวน์และจองซื้อโครงการบ้าน , townhome และคอนโดมิเนียมใหม่พร้อมอยู่ แต่ก็ยังจะต้องมีงบประมาณก้อนใหญ่ที่จะต้องนำมาจ่ายให้กับโครงการอสังหาริมทรัพย์เต็มจำนวนราคาขาย ซึ่งส่วนนี้คนส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเป็นหลัก
แต่ไม่ใช่ว่าการยื่นขอสินเชื่อซื้อบ้านจะผ่านได้ง่าย ๆ เพราะว่าทางธนาคารก็จะมีเกณฑ์พิจารณาหลายด้านรวมไปถึง “รายได้” ของผู้กู้ ซึ่งถ้าหากไม่เพียงพอตามเกณฑ์ธนาคารก็จะไม่ปล่อยกู้ให้เพราะถือว่าเป็นความเสี่ยง ยิ่งถ้าผู้ที่ต้องการจะซื้อ
โครงการบ้านใหม่ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมพร้อมอยู่ หรือโครงการคอนโดมิเนียมใหม่พร้อมอยู่ ราคาสูง ๆ ผู้ยื่นกู้ก็จะต้องมีรายได้สูงตามไปด้วย
ในกรณีนี้หลายคนมักใช้วิธีหาผู้
กู้ร่วมซื้อบ้าน หรือว่าผู้ร่วมรับภาระหนี้เข้ามาช่วยก็จะทำให้มีโอกาสที่จะได้รับการปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้น
ใครบ้างที่จะสามารถเป็นผู้กู้ร่วมซื้อบ้านได้
ส่วนใหญ่แล้วการเลือกบุคคลที่จะเข้ามารับภาระหนี้ร่วมได้นั้นมักจะต้องเป็นบุคคลในครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกัน เช่น พ่อ แม่ พี่และน้องก่อน แต่ถ้าหากจะใช้บุคคลอื่นมาเป็นผู้กู้ร่วมซื้อบ้านก็จะต้องพิจารณาให้รอบคอบเพราะต้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งในอนาคตต้องมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาในการโอนกรรมสิทธิ์คืนได้
มีคู่รักมากมายที่เตรียมแต่งงานในอนาคตอันใกล้และได้วางแผนกู้เงินกับธนาคารเพื่อซื้อโครงการบ้านใหม่ 2564 ในทำเลต่าง ๆ บ้างก็เลือกที่จะซื้อเป็นบ้านทาวน์โฮมที่มีราคาไม่สูงมากนัก บ้างก็จะเลือกซื้อเป็นคอนโดติดรถไฟฟ้าหรือว่าคอนโดใกล้ bts เพื่อความสะดวกในการเดินทาง โดยใช้วิธีการกู้ร่วม ซึ่งทางสถาบันการเงินก็จะกำหนดให้มีผู้ร่วมกู้เงินแต่ละครั้งไม่เกิน 2 คนและถ้าหากจะพิจารณารายได้ของผู้กู้แต่ละคนหักค่าใช้จ่ายแล้วดูว่าสามารถผ่อนชำระต่อเดือนได้มากน้อยแค่ไหน จากนั้นก็คำนวณมาเป็นวงเงินที่จะปล่อยกู้ให้กับผู้ยื่นกู้จึงทำให้สามารถกู้ในวงเงินที่สูงได้ง่ายกว่า วิธีการกู้ร่วมจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมากนักหรือกรณีที่ต้องการซื้อเป็น townhouse หรือ บ้านเดี่ยวโครงการใหม่ 2564 ที่มีราคาสูง
ส่วนในอนาคตหากผู้กู้มีรายได้เพิ่มขึ้นต้องการเปลี่ยนการกู้ร่วมเป็นการกู้คนเดียวหรือแม้แต่มีเหตุให้ต้องเลิกรากับคู่รักที่ได้กู้ร่วมกันไว้ก็สามารถทำได้ไม่ยาก โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็เพียงแค่แจ้งธนาคารเพื่อขอให้ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วมออกจากสัญญาที่ทำไว้เพื่อถือกรรมสิทธิ์คนเดียว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการทำสัญญาเงินกู้ใหม่ให้ได้เช่นเดียวกันหลังจากประเมินว่าผู้กู้คนเดียวนั้นสามารถผ่อนชำระสินเชื่อได้อย่างไม่มีปัญหา
- หากมีทะเบียนสมรสและต้องการยกที่อยู่อาศัยให้เป็นกรรมสิทธิ์ของคนใดคนหนึ่งหลังหย่าร้างก็สามารถนำใบสำคัญการหย่าพร้อมด้วยสัญญาจะซื้อจะขายไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อเปลี่ยนรูปแบบของสินเชื่อและทำสัญญาเงินกู้ใหม่
ดังนั้นการใช้วิธีหาผู้กู้ร่วมจึงกลายเป็นทางเลือกสำคัญของคนต้องการซื้อบ้านในยุคปัจจุบันที่จะช่วยให้การยื่นขอสินเชื่อซื้อบ้านเป็นเรื่องง่ายขึ้น
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
การกู้ร่วมจากแสนสิริ ได้ที่นี่
https://www.sansiri.com/content/view/คำแ...อย่างไร/th