ตอบกระทู้ 
 
คะแนนกระทู้:
  • 0 Votes - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
รู้จักประเทศเมียนมาร์
Fri, 08 May 20, 10:53
Post: #1
รู้จักประเทศเมียนมาร์
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป ยุคเริ่มแรกเป็นของอาณาจักรพยู (Pyu) และอาณาจักรมอญ (Mon) สำหรับเรื่อง ราวก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณแถบน แทบจะไม่มีหลักฐานข้อมูลกล่าวถึงเลย เพิ่งจะมีเรื่องราวของผู้ที่เคยอยู่อาศัยใน บริเวณนี้เป็นพวแรกในราว 1,300 ปีเศษ มานี้อง คือพวกชนผ่พยูหรือผัวได้ตั้ง รกรากอยู่ตอนกลางของประเทศพม่าใน ปัจจุบันแถบบริเวณเมืองไบกถาโน(Beik- thano) และมีเมืองหลวงแห่งแรกคือเมือง "ศรีเกษตรา" (Sri Ksetra) หรือเมืองแปร (Pyay) และแห่งที่สองคือ ฮาลิน (Halin) ในรัฐชเวโบ(Shwebo) หลักฐานทางด้านศิลปะและสถาปัตย- กรรมที่หลงเหลืออยู่ เกี่ยวเนื่องในลัทธิเทวราชา และศาสนา พุทธนิกายมหายานผสมกับศสนาฮินดู มีภาษาและตัวอักษร เป็นของตนเองในตระกูลทิเบต-พม่า ต่อมาชนเผ่าพยแพ้ สงครามและถูกปกครองโดยชาวไต (Tai) จากยูนนานของจีน ราว 1,400 ปีเศษมาแล้ว ชาวมอญ (Mon) ซึ่งมีถิ่นฐาน ตั้งเติมอยู่บริเวณทางภาคตะวันออกของอินเดีย หรือบริเวณ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้แถบลุ่มน้ำอิระวดี เป็นคนกลุ่มแรกที่ เดินทางมาเข้าเขตไทยจนถึงภาคตะวันตกของกัมพูชา ซึ่งเรียก กันว่า "แหลมสุวรรณภูมิ" หรือ "แหลมทอง" นั่นเอง ดังปรากฏ อยู่ในพงศาวดารจีน-อินเดีย ต่อมาราว 1,200 ปีมาแล้ว ชาวพม่า (Burmans) จาก ภาคตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย เข้ามาอยู่อาศัยในตอนกลาง และตอนใต้ของเมียนมาร์ในปัจจุบัน และเกิดการต่อสู้กับชาว มอญที่อยู่มาก่อนแล้วเป็นเวลานานจนถึงปัจจุบัน เป็นผลพวง ให้ต่างฝ่ายต่างก็รับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมของกันและ กันอย่างไม่รู้ตัว อาณาจักรพุกาม หรือ บากัน (Bagan) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอิระวดี พม่าเรียกว่า "เอยาวดี" (Aye- yarwady) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 1392 ยุคทองของอาณาจักรพุกาม อยู่ในสมัยพระเจ้าอโนรธา (Anawrahta) ราว พ.ศ. 1587 พระองค์ทรงรวบรวมดินแดนต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันเป็นปึกแผ่น และรับอิทธิพลของชาวพม่และมอญเข้าสู่พุกาม พระองค์ สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุ ถูกควายป่าขวิดใน พ.ศ. 1620 (ครองราชย์อยู่ 33 ปี) อาณาจักรพุกามมีความมั่นคงต่อมา หลายรัชกาล พระมหากษัตริย์ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่าง มาก ทรงสร้างโบราณสถาน เจดีย์ วัดต่างๆ มากมาย เช่น พระเจ้าจันสิทธะ (Kyanzittha) พระเจ้าอลองสิทฐ (Alaung- sithu) พระเจ้าติโลมินโล (Htilominlo) เป็นต้น อาณาจักรพุกามล่มสลายจากการรุกรานของกองทัพ กุบไลข่านในปี พ.ศ. 1830 เป็นระยะเวลาหลังจากพระเจ้า หงวนชิโจ๊ว หรือกุบไลข่าน (รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์หงวน) ขึ้นครองราชย์ได้เพียง 5 ปีเท่านั้น หลังจากนั้นมีบันทึกเป็น หลักฐานว่า พ.ศ. 1835 พระเจ้าแผ่นดินสยามส่งราชทูตไทย ไปเมืองจีน เนื่องจากกุบไลข่านส่งทูตมาเชื่อมสัมพันธไมตรี กับพ่อขุนรามคำแหง มีชื่อว่า "โฮจือจี่" เป็นทหารระดับนายพล ตำแหน่งเป็นจเรกองทัพมาเป็นราชทูตในครั้งนั้น เรื่องราวที่มาของการส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับ ไทยนั้นคือว่าสมัยเจงกีสข่านผู้นำเผ่ามองโกลรบชนะมาค่อนโลก จากตุรกีมาถึงตะวันออกกลาง ผ่านเส้นทางสายไหมมาถึง เมืองจีน หัวหน้าเผ่านักรบเร่ร่อนผู้นี้ร่ำลือกันนัก ว่าสามารถรบ อยู่บนหลังม้าได้นานถึงสิบวันสิบคืน ก็ยังมาจอดป้ายเอาตรง เมืองจีนนี่เอง เมืองที่มีอารยธรรมล้ำหน้กว่าทุกเมืองในโลกใน ขณะนั้น ในจีนตอนนั้นเผ่าฮั่นเป็นผ่ใหญ่ มีการรบกับอีกหลาย เผ่า ไม่เพียงรบเฉพาะมองโกลเพียงเผ่าเดียว จีนเสียเมือง ซ้องเหนือ แล้วก็ถอยรุ่นไปตั้งเมืองซ้องใต้ มองโกลใช้วิธีตีเมือง เล็กๆ เป็นวงแหวนล้อมเมืองหลวงของจีนไว้ ผู้นำมองโกลต้านใต้เป็นหลานเจงกีสข่าน ชื่อ "กุบไล" ตีได้เมืองยูนนาน เมืองน่านเจ้า และพม่าได้แล้ว ก่อนจะรุกคืบ หน้ากระหนาบจีน แม่ทัพกุบไลระแวงประเทศทางใต้อย่างไทย จะตีกระหนาบ กลายเป็นศึกสองด้าน ทำให้ต้องห่วงหน้าพะวง หลัง จึงได้ส่งทูตมาเฝ้าพ่อขุนรามคำแหง ดังพบหลักฐาน ต่างๆ คือ เครื่องถ้วยจำนวนมาก เครื่องกระเบื้อง ไหลายคราม เขียนลายดอกโบตั๋นก้านขดและลายมงคลแปด ผลิตจากเตา จิงเต๋อเจิ้น ชาวพม่าเปรียบแผ่นดินของตนเป็นแดนพรหมโลก (ตินแดนที่อยู่ของพระพรหม) ชื่อของ "พม่า" (Burma) หรือ ปัจจุบันเป็น "เมียนมาร์" (Myanmar) ก็แผลงมาจากคำว่า "พรหม" (Brahma) เทพองค์สูงสุด 1 ใน 3 ของศาสนาฮินดู นั่นเอง และตามข้อความในพงศาวดารฉบับหอแก้ว ลำดับ วงศ์กษัตริย์พม่า (The Glass Palace Chronicle of the Kings of Burma) บอกถึงตำนานความเป็นมาของประเทศ ระบุว่า พวกศากยะ (Sakya) ซึ่งอพยพมาจากอินเดียใต้ ได้สถาปนาราชอาณาจักรแห่งแรกบนแผ่นดินพม่าขึ้นในสมัย ก่อนคริสต์กาล แต่นักชาติพันธุ์วิทยาโดยทั่วไปกลับลงความ เห็นว่า ประชากรชาวบะมาร์ของพม่าในปัจจุบันนี้คือเชื้อสาย ของบรรดาผู้คนที่อพยพมาจากบริเวณมณฑลกังสู (Gansu) ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในปัจจุบัน ในตำนานว่าชาวมอญเป็นผู้วางศิลาฤกษ์เจดีย์ชเวดากอง เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว และมีการบูรณะต่อเติมเจดีย์มาหลายครั้ง ด้วยกัน เชื่อกันว่าชาวมอญได้เป็นผู้วางรากฐานขนบธรรมเนียม แบบชาวพุทธไว้ในผา เพราะในช่วง 2,300 ปีมาแล้ว ชาว มอญได้ติดต่อกับพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย โดยผ่าน ทางเมืองท่าตะโทง (Thaton) ไทยเรียกว่า "เมืองสะเทิม" ถึงแม้มอญจะพ่ายแพ้ต่อพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักร พุกาม แต่วัฒนธรรมของมอญกลับรุ่งเรือง ราชสำนักพม่า รับไปมาก ภาษาบาลีเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ ตัวอักษรพม่าแทนที่ ด้วยตัวอักษรมอญ พุทธศาสนานิกายเถรวาทเริ่มแพร่หลาย ออกไป พระเจ้าอโนรธาทรงเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนานิกาย เถรวาท ทรงอุปถัมภ์การสร้างเจดีย์ชเวชิกองที่เมืองเยาวน์อ (Nyaung-U) และศาสนสถานอื่นๆ อีกมากมาย หลังจากที่พระเจ้าชอยุน (Sawyนn) ราชโอรสของ พระเจ้าอโนรธาถูกพวกกบฏมอญปลงพระชนม์ พระเจ้า จันสิทธะ (Kyanzittha) ทรงนำทัพปราบปรามพวกกบฏจน ราบคาบ แล้วจึงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 1627 ทรงเป็น พุทธมามกะที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงบัญชาให้สร้างวัดอนันดา (Ananda) บริจาคทรัพย์และ ส่งกำลังคนถึงหนึ่งลำเรือ เดินทางไปบูรณะวัดพระศรีมหาโพธิ์ ที่เมืองพุทธคยา พระองค์ทรงประทานพระธิดาให้อภิเษกสมรส กับเจ้าชายมอญพระองค์หนึ่ง และทรงโปรดให้พระราชนัดดา นามว่า "อลองสิทธ" (Alaungsithu) เป็นผู้สืบราชสมบัติต่อ จากพระองค์ ในยุคทองของบากันหรือพุกามนี้ ได้รับสมญานามว่า เป็น "เมืองแห่งเจดีย์สี่พันองค์" รวมทั้งยังมีการเกษตรและ ชลประทานที่ดีเยี่ยม ต่อมาเริ่มเสื่อมลง ชาวไตในรัฐฉานเริ่ม เข้ามารุกราน และสุดท้ายกองทัพกุบไลขนชาวมองโกลก็รุก เข้ามาจนถึงเมืองบะหม่อ (Bhamo) พระเจ้านราริหะปะติได้มี บัญชาให้รื้อวัดลงถึง 6,0๐๐ แห่ง เพื่อนำอิฐมาสร้างกำแพง ป้อมปราการป้องกัน ทั้งๆ ที่ทรงปกป้องบ้านเมืองถึงเพียงนี้ พระองค์ก็ยังถูกตำหนิ และตราหน้ว่าเป็น "ตะยกปีเยยมิน" แปลว่า "พระเจ้าหนีจีน" หลังจากนั้นไม่นานพระองค์ถูก พระโอรสเจ้าเมืองปีเยย์หรือเมืองแปร ลอบปลงพระชนม์ด้วย ยาพิษกองทัพพม่าแพ้ย่อยยับในการรบที่เมืองโวชาน (Vochan) กองทัพมองโกลตีหักเอาเมืองบากัน (พุกาม) ได ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าแตกแยก ออกเป็นรัฐน้อยใหญ่หลายรัฐอยู่นานร่วม 300 ปี ชาวมอญ ภายใต้การสนับสนุนของประมุขรัฐฉานคือ "พระเจ้าวเรรุ" (Wareru) ไทยเรียกว่า "มะกะโท หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว" ก่อการ แข็งเมือง แยกตัวออกจากการรวมเป็นจักรวรรดิที่ 1 ของพม่า เช่นเดียวกับชาวระไดน์ (ยะไข่) ในแถบอาวเบงกอล ชาวมอญได้ตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองบาโก (Bago) ไทย เรียกว่า "หงสาวตี" เขตพม่าตอนล่าง และต่อมาเสียตะนี้นตายี (Tanintharyi) ไทยเรียกว่า "ตะนาวศรี" ให้กับกรุงศรีอยุธยา แต่อาณาจักรมอญก็เป็นปึกแผ่นมั่นคงดีอยู่ในเขตของพม่า ตอนบน ชาวรัฐฉานปกครองอยู่มีเมืองหลวงอยู่ที่อินนวะ (Innwa) ไทยเรียกว่า "อังวะ" ส่วนทางตะวันตกแถบอาว เบงกอล ชาวระไดนได้ขยายอาณาเขตขึ้นเหนือไปถึงเมือง จิตตะกอง (Chittagong) ปัจจุบันคือประเทศบังคลาเทศ ในปี พ.ศ, 1978 ชาวยุโรปพวกแรกที่เริ่มเข้ามาในพม่า คือ "นิโคโล ดิคอนติ" (Nicolo di Conti) ชาวอิตาเลียน มาเยือนเมืองบาโกและพักอยู่ 4 เดือน ต่อมาในปี พ.ศ. 2062 แอนโทนี คอร์เรีย (Antony Correa) ชาวโปรตุเกสเดินทางมา ถึงเมืองมะตะบัน (Martaban) และได้ทำสนธิสัญญาการค้า เพื่อเดินทางมายังไทยด้วย แต่พระเจ้าตะเบงชเวตี้ (Tabinshweti) แห่งเมืองบาโก ทรงไม่พอพระทัยที่พวกโปรตุเกสเข้ามาแผ่อิทธิพลอยู่ใน เมืองประเทศราชของพระองค์ จึงทรงส่งทหารไปล้อมเมือง มะตะบันใน พ.ศ. 2084 และมีชาวโปรตุเกสราว 700 คนที่ มาเข้ากับพระเจ้าตะเบงชเวตี้ เพราะไม่เห็นด้วยกับพวกที่ ตัดสินใจหนุนหลังอุปราชแห่งมะตะบัน หลังจากพระเจ้าตะเบงชวตี้ทรงรวบรวมจักรวรรดิบากัน เข้าเป็นปึกแผ่นได้เป็นผลสำเร็จแล้ว ชาวโปรตุเกสจึงยังได้ เมืองมะตะบันไว้เป็นสถานีการคต่อมาจนถึง พ.ศ. 2156 ในขณะเตียวกันก็ผูกไมตรีกับกษัตริย์แห่งเมืองเมี่ยวฮาวน์ (Myohaung) ในรัฐระไดน์ จึงสามารถควบคุมเส้นทางเดิน ทะเลในอ่าวเบงกอลได้นานถึง 100 ปี คนสำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ "ฟิลลิป เดอบริโต" (Phillip de Brito)ได้เข้ารับราชการในแผ่นดินพระเจ้าราชาจี (Razagyi) ไทยเรียก "พระเจ้าราชาธิราช" แห่งระไดน์ เขาได้เป็นผู้ดูแล ภาษีศุลกากรในเมืองตันเลียน สร้างป้อมปราการและยึดเมือง เอาไว้ใต้อำนาจของโปรตุกส หลังจากได้แต่งงานกับบุตรสาว อุปราชแห่งเกาะกัวแล้ว เขาเดินทางกลับมาที่ตันเลียนพร้อม เสบียงและอาวุธ เพื่อต่อต้านการปิดล้อมโจมตีของชาวพื้นเมือง พร้อมทั้งประกาศตัวเป็นกษัตริย์ของพม่าตอนใต้ เดอบริโตใช้กองทัพเรือบังคับเรือสินค้ที่ผ่านไปผ่าน มาค้าขายที่เมืองท่าต้นเลียน ตลอด 13 ปีเขาได้บังคับชาวเมือง มานับถือศาสนาคริสต์ และเหยียดหยามศาสนาพุทธ ในปี พ.ศ. 2156 พระเจ้าอะเนาแผ่หลุน (Anaukhpetlun) แห่ง ตาวนงู (Toungoo) ไทยเรียกว่า "ตองอู" เข้าตีเมืองตันเลียน เดอบริโตป้องกันเมืองอยู่ 34 วันเขาถูกจับตัดหัวเสียบประจาน ที่เหลือถูกเนรเทศไปหมู่บ้านใกล้เมืองชวโบในพม่าเหนือ และ ตั้งรกรากอยู่ที่นั่น มีชื่อเรียกกันว่า "ชาวบายิงจี" (Bayingyi) ขณะเดียวกันในเขตพม่าเหนือ มีชาวเขาบางกลุ่มบุกเข้า โจมตีและเผาเมืองอินนะหรืออังวะใน พ.ศ. 2070 ชาวบะมาร์ ได้ถอยหนีไปยังเมืองตาวนงู (ตองอู) ซึ่งเป็นที่ที่พระเจ้า ตะเบงชเวตี้ได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้น ก่อนจะย้ยไปยังเมือง บาโก (หงสาวตี) หลังจากทรงได้รับชัยชนะที่เมืองมะตะบัน แล้ว และได้ขยายอำนาจลงมาตามเทือกเขาตะนั้นตายีจนถึง เมืองดะแว (Dawei)ไทยเรียกว่า "ทวาย" และไปทางตะวันตก ถึงเมืองปีเยย (Pyay) บนฝั่งแม่น้ำเอยาวดี (อิระวตี) ตอนกลาง นอกจากนี้พระเจาบะยิ่นเนาน์ (Bayinnaung) ไทยเรียกว่า "พระเจ้าบุเรงนอง" พี่เขของพระเจ้าตะเบงชเวตี้ ทรงพิชิตได้ ทั้งรัฐฉาน เชียงใหม่ และอยุธยา ถือว่าเป็นการขยายอาณาจักร ที่กว้างใหญ่ที่สุดของพม่า ในพุทธศตวรรษที่ 22 พวกอังกฤษ ดัตช์ และฝรั่งเศส ได้ตั้งบริษัทการคขึ้นที่เมืองท่าต่างๆ ตามริมน้ำ เมืองหลวง ย้ายกลับมาที่อินนะ (อังวะ) แต่ชาวมอญก็มาตีคืนกลับไปได้ ในปี พ.ศ. 2295 โดยฝรั่งเศสช่วยด้านอาวุธ จักรวรรดิบากันที่ 2 จึงล่มสลายไปในที่สุด หลังจากนั้นพระเจ้าอลองพญา (Alaungpaya) เป็น ชาวบะมาร์จากเมืองชเวโบ (Shwebo) ได้ตั้งจักรวรรดิที่ 3 ของ พม่าขึ้น ทรงรบชนะชาวมอญ เนรเทศชาวฝรั่งเศสไปอยู่ ที่เมืองบายิงจี และเผาบริษัทการคของอังกฤษ โอรสผู้สืบ เชื้อสายต่อมาคือพระเจ้าซินผิวชิน (Hsinbyushin)ไทยเรียกว่า "พระเจ้ามังระ" ทรงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้ใน พ.ศ. 2310 และกวาดต้อนเชลยและช่างฝีมือต่างๆ กลับไปพม่า ทำให้ได้ รับเอาอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากไทย ต่อมาพระเจ้าโบคอพญา (Bodawpaya) โอรสของ พระเจ้าอลองพญา ไทยเรียกว่า "พระเจ้าปดุง" ขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ. 2325 ทรงพิชิตรัฐระไดนลงได้ และย้ายเมืองหลวง ไปที่อมรปุระ (Amarapura) อยู่ไม่ไกลจากเมืองอินนวะมากนัก ในขณะนั้นพม่ากับอินเดีย (อาณานิคมของอังกฤษสมัย นั้น) มีเขตแดนติดต่อกัน และความขัดแย้งเริ่มเกิดขึ้น เมื่อ พระเจ้าบาจิดอ (Bagyidaw) ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2362 เจ้าเมืองแห่งมณีปุระ (Manipura) ซึ่งเคยส่งเครื่องราช บรรณาการมาให้กษัตริย์พม่า ไม่ยอมมาร่วมงานราชาภิเษก ของพระองค์ ทัพพม่าจึงยกเข้าไปในรัฐคะชาร์ (Cachar) ของอินเดีย อังกฤษจึงใช้เป็นข้ออ้างในการทำสงครามกับพม่า ครั้งที่ 1 พม่าประเมินกำลังของอังกฤษต่ำกว่าความเป็นจริง จึง พ่ายแพ้ต้องเซ็นสัญญา"ตันคะโบ" (Tandabo) ใน พ.ศ. 2369 บังคับให้พม่าต้องคืนรัฐระไดนและตะนินตายี รวมทั้งเขตแดน ของรัฐอัสสัมและมณีปุระ ซึ่งเพิ่งยึดได้เมื่อปี พ.ศ. 2362 ให กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2395 กัปตันเรือชาวอังกฤษ 2 นาย ได้ยื่น คำร้องเรื่องการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในศาลพา อังกฤษจึง ถือโอกาสส่งกองทัพมายังพม่า เคิตสงครามเป็นครั้งที่ 2 และ อังกฤษก็ชนะอีก ขณะเดียวกันพระเจ้ามินคง (Mindon) ขึ้น ครองราชย์ใน พ.ศ. 2396-2421 ประทับอยู่ที่เมืองอมรปุระ ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกที่พยายามจะปรับปรุงประเทศพม่า ให้เช้ากับแนวความคิดของตะวันตกมากขึ้น ทรงส่งคนรุ่นใหม่ ไปศึกษาต่อในยุโรป ทรงปฏิรูปโครงสร้างการปกครอง และ ทรงริเริ่มนำการอุตสาหกรรมมาใช้ในบ้านเมืองของพม่า พระเจ้ามินดงทรงย้ายราชสำนักไปยังเมืองมัณฑะเลย์ ใหม่ เพื่อเป็นอนุสรณ์สมโภชปฐมเทศนาครบ 2,400 ปื ของ พระพุทธเจ้าใน พ.ศ. 2404 จนเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธ ศาสนา พระเจ้ามินดงทรงโปรดให้สภาสงฆ์ทำการสังคายนา พระคัมภีร์ติปิตะกะ (ไตรปิฎก) เป็นครั้งที่ 5 ในพุทธศาสนา นับเป็นการชำระพระไตรปิฎกครั้งแรกในรอบเกือบ 2,๐๐๐ ปื เพื่อให้ชาวพม่าทั้งหลายเป็นหนึ่งเดียวภายใต้พุทธศาสนา และยังถือกันว่าเป็นพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่ยอมรับว่า เป็นของแท้ที่มีการบันทึกไว้ เพราะแต่ก่อนได้ถูกจารเอาไว้บน ใบลานแทบทั้งสิ้น และพระองค์ทรงต้องการให้พระไตรปิฎกที่ได้ชำระแล้วนี้ คงอยู่ต่อไปจนถึงกาลอวสานของพุทธศาสนาในอีก 2,600 ปี ข้างหน้า จึงโปรดให้อาลักษณ์ 2,400 คน แกะสลักบันทึก ข้อความจากพระคัมภีร์ลงในแผ่นหินถึง 729 แผ่น แล้วสร้าง มณฑปครอบเอาไว้ที่เชิงเขามัณฑะเลย์ และคัดลอกลงในสมุด 38 เล่ม มีความยาวเล่มละ 400 หน้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2423 พระเจ้าติบอ (Thibaw) ไทย เรียกว่า "พระเจ้าสีป้อ" ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้ามินดง เกิดมีโรคไข้ทรพิษระบาดในกรุงมัณฑะเลย์ และฝรั่งเศสมา เจรจาขอสัมปทานการเดินเรือในแม่น้ำเอยาวดี เพื่อไปทำำ การค้ากับจีน ซึ่งเป็นการขัดผลประโยชน์ต่ออังกฤษ และ บริษัททำไม้แห่งหนึ่งของอังกฤษเกิดกรณีพิพาทกับรัฐบาล ของพระเจ้าติบอ ดังนั้นพระองค์จึงทรงเรียกค่าเสียหาย แต อังกฤษกลับยกทัพมารุกรานพม่ำเหนือและยึดเมืองหลวงได้ โดยปราศจากการต่อต้าน

บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก pussy888
ค้นหาข้อความทั้งหมดของสมาชิกท่านนี้
อ้างถึงข้อความนี้ในการตอบกระทู้
ตอบกระทู้ 


** ข้อแตกต่างระหว่างการตอบกระทู้โดยใช้กล่อง comment ของ Facebook กับกล่องตอบข้อความของทางเว็บ


ไปยังหัวข้อ:


ผู้ที่กำลังดูกระทู้นี้: 1 ผู้เยี่ยมชม