คุณแม่ยุคใหม่ในปัจจุบัน มักนิยมเลี้ยงลูกน้อยโดยการให้ลูกน้อยได้ดื่มน้ำนมแม่ แต่เนื่องจากคุณแม่จะต้องออกไปทำงานนอกบ้านจึงจำเป็นต้องหาวิธีการ ในการที่จะให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่ด้วย ซึ่งวิธีการนั้นได้แก่ การปั๊มนมและเก็บไว้ให้ลูกน้อยทานทีหลัง ซึ่งสิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม นั่นคือ
การเก็บนมแม่ ที่ถูกวิธีเพราะหากเก็บนมแม่ไม่ถูกวิธีอาจทำให้น้ำนมเสีย หรือเสื่อมคุณภาพ และเกิดอันตรายต่อลูกน้อยได้ โดยการเก็บนมแม่ที่ผิดวิธีมีอะไรบ้างมาดูกันดีกว่า
1. ใส่นมในถุงมากเกินไป คุณแม่ไม่ควรใส่น้ำนมแม่จนเต็มถุง เพราะเมื่อเวลานำไปแช่แข็งน้ำนม จะเกิดการขยายตัวมากขึ้นและทำให้ถุงใส่นมแตกหรือฉีกขาดได้ และทำให้เชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกต่างๆเข้าไปปนเปื้อนกับน้ำนมได้ ซึ่งสิ่งเราเหล่านี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยเมื่อ นำไปให้ลูกน้อยดื่ม ดังนั้นคุณแม่จึงควรเก็บนมใส่ถุงโดยการให้เหลือพื้นที่ไว้เสมอและควรไล่อากาศออกให้หมดทุกครั้งด้วย
2. แช่น้ำนมใกล้เนื้อสัตว์ คุณแม่ไม่ควรเก็บน้ำนม ไว้ในช่องแช่ที่ใกล้กับเนื้อสัตว์ เพราะเชื้อโรคหรือแบคทีเรียที่ปะปนมากับเนื้อสัตว์ อาจเข้าไปปนเปื้อนกับน้ำนมที่เก็บไว้ได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเมื่อนำไปให้ลูกน้อยได้ดื่มลูกน้อยก็จะได้รับเชื้อแบคทีเรียต่างๆ และทำให้เกิดอันตรายได้โดยเฉพาะ
เด็ก 4 เดือน ซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังพัฒนาและเจริญเติบโต ซึ่งอาจมีผลต่อพัฒนาการและสมองของ
เด็ก 4 เดือน ได้โดยตรง
3. นำน้ำนมแม่ที่ละลายแล้วกลับมาแช่ใหม่ คุณแม่อาจจะนำนมที่แช่แข็งมาละลายให้ลูกกินแล้วเหลือ แล้วนำกลับมาแชร์ใหม่อีกครั้ง เพราะเสียดายน้ำนมที่เหลืออยู่ แต่เนื่องจากการนำมาแชร์ซ้ำอีกครั้ง จะทำให้น้ำนมเสื่อมคุณภาพหรือเสียแล้ว และส่งผลให้ลูกน้อยท้องเสียได้ ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรนำนมที่ละลายแล้วมาให้ลูกดื่มแต่ดื่มไม่หมดนำกับไปแชร์ใหม่
4. เก็บน้ำนมไว้นานเกินไป การเก็บน้ำนมมีวิธีการเก็บหลายรูปแบบ และแตกต่างกันออกไป เช่น การเก็บในช่องแช่แข็ง จะเก็บได้นาน 4- 6 เดือน แต่หากเก็บไว้ในช่องปกติจะเก็บได้นานประมาณ 8 วันซึ่งหากคุณแม่ เก็บน้ำนมไว้นานกว่าระยะเวลาปกติที่ควรเก็บไว้อาจทำให้น้ำนมหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพลง และหากนำมาให้ลูกน้อยได้ดื่ม อาจทำให้ลูกน้อยท้องเสียหรือปวดท้องได้นั่นเอง วิธีการเก็บนมแม่ที่ดีที่สุด ควรจะเขียนวันที่เก็บและวันที่น่าจะหมดอายุไว้ที่ถูอย่างชัดเจน และก่อนนำมาให้ลูกดื่มควรจะเช็ควันที่เก็บและวันที่หมดอายุทุกครั้งด้วย
คุณแม่ไม่ควรปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บรักษาน้ำนมเอง หรือเก็บนมที่ผิดวิธี เพราะหากมีสิ่งปนเปื้อน เชื้อโรค หรือเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนกับน้ำนม ซึ่งคุณแม่อาจไม่รู้ก็ได้และเมื่อนำมาให้ลูกดื่มก็จะส่งผลอันตรายต่อลูกน้อย ดังนั้นคุณแม่ควรเก็บรักษานมตามวิธีการมาตรฐานที่กรมสาธารณะสุขแนะนำ เพื่อให้ได้น้ำนมที่มีคุณภาพและการเก็บรักษาน้ำนมได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการคุ้มค่ามากกว่าการดัดแปลงวิธีการต่างๆนั่นเองโดยคุณแม่ควรศึกษาวิธีการเก็บน้ำนมไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยอาจเริ่มตั้งแต่การใช้
วิธีนับอายุครรภ์ เพื่อดูอายุครรภ์ว่าใกล้คอดหรือยังเพื่อเตรียมพร้อมในการเก็บรักษาน้ำนมนั่นเอง