ตอบกระทู้ 
 
คะแนนกระทู้:
  • 0 Votes - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
การรักษาโรคเบาหวาน ตรวจก่อนรู้ก่อนช่วยควบคุมน้ำตาลให้อยู่หมัด
Mon, 21 Jun 21, 22:31
Post: #1
การรักษาโรคเบาหวาน ตรวจก่อนรู้ก่อนช่วยควบคุมน้ำตาลให้อยู่หมัด
การรักษาโรคเบาหวาน ตรวจก่อนรู้ก่อนช่วยควบคุมน้ำตาลให้อยู่หมัด

โรคเบาหวานหมายถึงภาวะร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของฮอร์โมนอินซูลินลดลง ถ้ารู้ตัวเร็ว การรักษาโรคเบาหวาน มีโอกาสรักษาหายได้ แต่คนจำนวนมากเป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัว กว่าจะเริ่มรักษามักเกิดโรคแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร แต่ถ้าปล่อยไว้นานจะเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงตามมา รวมถึงตาบอด, ภาวะไตวาย, อัมพาต, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
สัญญาณอันตรายที่เตือนอาการของโรคเบาหวาน มีดังนี้

- เหนื่อย อ่อนเพลีย หิวบ่อย แต่น้ำหนักลด เนื่องจากร่างกายดูดซึมน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ จึงดึงโปรตีนและไขมันมาเผาผลาญแทน
- หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ มักตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
-ผิวแห้ง มีอาการคันบริเวณผิวหนังและตามตัว
- ตาแห้ง ตาพร่ามัว หาสาเหตุไม่ได้
- มีอาการชาหรือเจ็บแปลบบริเวณปลายมือปลายเท้า ปวดขา ปวดเข่า
- แผลหายช้ากว่าปกติ ไม่แห้งสนิท โดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

สาเหตุของโรคเบาหวาน มีปัจจัยเสี่ยงหลักมาจากกรรมพันธุ์ พบว่าประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ขาดการออกกำลังกาย เมื่ออายุมากขึ้นยิ่งมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากระบบการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินและเซลล์ตับอ่อนเสื่อมถอย

ข้อมูลของ medpark hospitalโรงพยาบาล แถวพระราม 4 โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิดหลัก ได้แก่
- เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน พบประมาณ 5-10% ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมักจะเป็นเด็กและผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 40 ปี สาเหตุเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถหลั่งอินซูลิน สาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย
- เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากเซลล์ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง หรือเรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน พบประมาณ 90-95% ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุ เป็นโรคอ้วน และเป็นตามกรรมพันธุ์ ขาดการออกกำลังกาย ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีประวัติการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- เบาหวานชนิดที่ 3 เกิดจากสาเหตุเฉพาะ เช่น เซลล์ตับอ่อนทำงานผิดปกติ โรคตับอ่อนอักเสบ มีการผ่าตัดตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เนื้องอกต่อมหมวกไต การรับประทานยาบางชนิด รวมทั้งสเตียรอยด์ สารเคมีบางชนิด และไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อหัดเยอรมัน
- เบาหวานชนิดที่ 4 เกิดในช่วงตั้งครรภ์ พบประมาณ 2-5% ของหญิงตั้งครรภ์ แม้ว่าคลอดแล้วอาการเบาหวานจะหายไป แต่ผู้ป่วยเกือบครึ่งหนึ่งมีโอกาสเสี่ยงพัฒนาเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต กรณีที่มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีโอกาสเป็นได้อีก

เมื่อรู้ถึง สาเหตุของโรคเบาหวาน และอาการที่เป็นสัญญาณอันตรายมีอะไรบ้าง ถ้าพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันหรือทำ การรักษาโรคเบาหวาน ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ที่ควรคัดกรองโรคเบาหวานคือผู้มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ และมีประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ก่อนตรวจเลือดควรเตรียมตัวงดอาหารและเครื่องดื่ม 12 ชั่วโมง แต่ดื่มน้ำเปล่าได้ตามปกติ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมง รับประทานยาลดความดันโลหิตสูงได้ตามปกติ ราคา ตรวจ สุขภาพ ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจของคลินิกและโรงพยาบาล ตรวจสุขภาพเบาหวาน 9 รายการ เริ่มต้นราคาประมาณ 1,000 บาทขึ้นไป จนถึงตรวจสุขภาพเบาหวาน 19 รายการ ราคากว่า 5,000 บาท การตรวจเลือดพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 มก./ดล. ถือว่าเป็นเบาหวาน ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที หากผลตรวจเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. จัดว่าระดับน้ำตาลผิดปกติ ยังไม่เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน แต่ควรระมัดระวังและตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ตรวจสุขภาพที่ไหนดี
https://www.akerufeed.com/health/medical-checkup

[Image: DHywER.md.jpg]
ที่มาข้อมูล
https://www.paolohospital.com/th-TH/cent...อดปลายนิ้ว (capillary,ซ้ำทุก 1-3 ปี
ค้นหาข้อความทั้งหมดของสมาชิกท่านนี้
อ้างถึงข้อความนี้ในการตอบกระทู้
ตอบกระทู้ 


** ข้อแตกต่างระหว่างการตอบกระทู้โดยใช้กล่อง comment ของ Facebook กับกล่องตอบข้อความของทางเว็บ


ข้อความในกระทู้นี้
การรักษาโรคเบาหวาน ตรวจก่อนรู้ก่อนช่วยควบคุมน้ำตาลให้อยู่หมัด - Unyana - Mon, 21 Jun 21 22:31

ไปยังหัวข้อ:


ผู้ที่กำลังดูกระทู้นี้: 1 ผู้เยี่ยมชม