ครูเฮงสอนขับรถบ้าน
http://www.facebook.com/#!/notes/%E0%B8%...4433727652
นักขับรถที่ดี ต้องขับแบบมีศิลป์ ไม่ขับแบบทำร้ายรถ กระตุก หรือกระชาก ต้องขับแบบสุภาพ ประณีตบรรจง นุ่มนวล หรือนิ่มนวล จะเป็นการยืดอายุรถ และเป็นการป้องกันอุบัติเหตุด้วย
การหมุนพวงมาลัยอย่างช้าๆ ไม่เหวี่ยง ไม่ส่าย ไม่กระตุก หรือไม่กระชาก จะทำให้เรามีสมาธิในการควบคุมรถได้ดี เป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางหนึ่ง นักขับรถที่ชอบขับแบบหลบสิ่งกรีดขวาง เมื่อตกใจมักจะเหวี่ยง หรือกระชากพวงมาลัยหนี พอเห็นว่าไม่พ้นก็จะเหยียบคันเร่งแทนเบรก เพราะในขณะนั้นเข้าใจว่าเป็นเบรก รถก็จะวิ่งจนสุดกำลัง ดังจะเห็นได้จากการที่มีรถวิ่งพุ่งชนต้นไม้ วิ่งชนเสาไฟฟ้าข้างทางอย่างแรง หรือวิ่งข้ามเกาะกลางถนน
ในรถเกียร์ธรรมดา (เกียร์กระปุก)
ครูฝึก ต้องสามารถสอนให้เลี้ยงคลัตช์ได้อย่างถูกวิธี จึงจะทำให้รถเคลื่อนตัวได้อย่างนุ่มนวล ตั้งแต่วินาทีแรก โดยไม่สั่น ไม่กระตุก หรือไม่กระชากจนเครื่องดับ การเลี้ยงคลัตช์ควรจะเป็นการถอนคลัตช์ ไม่ใช่การปล่อยคลัตช์ เพราะการปล่อยคลัตช์จะมีปัญหา เมื่อเกิดกรณีรถติดแบบเคลื่อนตัว ไม่ใช่ติดอยู่กับที่ แต่เป็นการเคลื่อนตัวเรื่อยๆ หยุดบ้างเคลื่อนบ้าง ในกรณีนี้ถ้าใช้การปล่อยคลัตช์ แป้นคลัตช์ก็จะเลื่อนต่ำลงเรื่อยๆสู่ฝ่าเท้า ทำให้เหยียบได้ไม่สุด เมื่อคลัตช์ไม่สุดก็ทำให้รถยังคงเคลื่อนไปเรื่อยๆ เมื่อเห็นว่ากำลังจะเคลื่อนไปชนรถคันหน้า จึงต้องตัดสินใจหยุดรถ แต่เพราะเท้ายังอยู่ที่คันเร่งก็ จึงเหยียบคันเร่งแทนเบรก เหตุการณ์เช่นนี้มักเกิดขึ้นบ่อย หลายคนอาจจะเคยเห็น รถที่ขับตามหลังอยู่ดีๆก็พุ่งชนรถคันหน้าอย่างแรง สาเหตุเพราะใช้การปล่อยคลัตช์ ไม่ใช้การถอนคลัตช์
การเข้าเกียร์ก็เช่นกัน ต้องเข้าใจใช้ศูนย์กลางเกียร์ว่าง ( CENTER ) เพื่อป้องกันการเข้าผิดเกียร์ การเช็คเกียร์ว่างก่อนการสตาร์ทรถ ควรจะเช็คที่สปริงเกียร์ถอยจะแน่นอนกว่าการใช้วิธีโยกคันเกียร์อย่างที่ทำกัน เพราะการโยกคันเกียร์ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นเกียร์ว่างจริง รถที่บูชคันเกียร์หลวมก็อาจโยกได้เมื่อเกียร์ยังไม่ว่าง
ครูสอนขับรถที่ดี ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของผู้ที่ยังขับไม่เป็นย่อมจะมีความกลัวเป็นทุนอยู่ก่อน เมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจ ครูต้องพยายามอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจให้ได้ ไม่ใช่บังคับให้ผู้เรียนเข้าใจ หรือใช้อารมณ์กลบเกลื่อนเมื่อไม่สามารถอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจ การสอนที่ใช้อารมณ์ ยิ่งเป็นการเพิ่มความกลัว ทำให้ผู้เรียนขาดสมาธิ จะยิ่งทำให้การเรียนเข้าใจยากขึ้น และขาดความจำด้วย การฝึกก็จะยิ่งยืดเยื้อต้องใช้เวลามากขึ้น
การสอนขับรถ เปรียบได้กับการสอนให้เด็กหัดเดิน ต้องสอนอย่างช้าๆค่อยๆประคองจนกว่าเด็กจะเดินได้เอง เด็กเกือบทุกคนเมื่อตอนหัดเดินใหม่ๆ มักจะใส่รองเท้ากลับข้าง(ซ้ายเป็นขวา ขวาเป็นซ้าย) เพราะความเข้าใจของเด็กที่กำลังหัดเดินจะต่างกับความจริง ความเข้าใจของคนที่กำลังหัดขับรถก็เช่นกัน มักจะต่างกับความจริง จึงเป็นเหตุผลที่มีนักขับรถหลายคนสอนคนใกล้ชิดไม่ได้ เพราะต้องทนกับความเข้าใจที่ผิดของผู้เรียน ยิ่งถ้าผู้เรียน และผู้สอนขาดความเกรงใจซึ่งกันและกัน ก็ยากที่จะสอนกันได้ เพราะต่างคนต่างเชื่อมั่นในความคิด และความเข้าใจของตนเอง
ครูสอนขับรถ ไม่ควรสอนตามความเข้าใจ หรือสอนตามประสบการณ์ของตน แต่ควรจะสอนตามหลักวิชา(ตามบทเรียน)จะดีกว่า ผู้เรียนเกือบทุกคนจะหมุนพวงมาลัยไม่เป็น ครูควรสอนให้ผู้เรียนหมุนให้ถูกวิธี จะช่วยในการควบคุมทิศทางง่ายขึ้น การบอกอัตราส่วนของการหัก และการคืนพวงมาลัย ทั้งองศา และเวลาให้กับผู้เรียนจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจ และสามารถควบคุมรถได้ดี ไม่ใช่หมุนให้ดูแล้วให้ผู้เรียนทำความเข้าใจเอง
ยังมีต่อ......
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม ติดต่อ
08-6061-3169 และ 08-7800-6235 (กรุณาโทรทั้งสองหมายเลข) โทรได้ทุกเวลาที่เครื่องเปิด แล้วครูเฮงจะโทรกลับ