|
คะแนนกระทู้:
- 0 Votes - 0 Average
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
ถ้าเป็นเรื่องของการเรียนขับรถยนต์ ต้องยกให้ที่นี่ ศูนย์รวมที่สอนขับรถยนต์ คุณภาพดี
|
Sat, 17 Apr 10, 10:12
(แก้ไขล่าสุด: Tue, 27 Dec 11 20:01 โดย instructor.)
|
|
instructor
กำลังสะสมประสบการณ์
|
เขียนทั้งหมด: 8
เข้าร่วม: Apr 2010
คะแนนความนิยม 0
|
|
RE: ถ้าเป็นเรื่องของการเรียนขับรถยนต์ ต้องยกให้ที่นี่ ศูนย์รวมที่สอนขับรถยนต์ คุณภาพดี
สอนขับรถ ครูเฮงสอนขับรถบ้าน
การขับรถคือ การควบคุม และบังคับรถให้ได้ในทุกอิริยาบถ ตามความต้องการของผู้ขับ ก่อนจะบังคับ ต้องเข้าใจหน้าที่ และการทำงานของกลไกแต่ละตัวก่อน เมื่อเข้าใจแล้วเราจึงจะบังคับได้ตามความต้องการ
รถเกียร์ธรรมดา หรือเกียร์กระปุก จะมีกลไกบังคับอยู่ 5 ตัว คือ
1. เกียร์
เกียร์ทำหน้าที่ ตัดต่อระหว่างเครื่องกับล้อ (ปลด และเข้าเกียร์) ทำให้เพิ่มหรือลดกำลังของรถ (เกียร์ต่ำเพิ่ม เกียร์สูงลด) เพิ่มหรือลดรอบของล้อ (เกียร์สูงเพิ่ม เกียร์ต่ำลด)
รอบของเครื่องยนต์ที่สัมพันธ์กับล้อ
ขณะที่เครื่องยนต์หมุน 4 รอบ *โดยประมาณ
เกียร์ 1 ล้อจะหมุน 1 รอบ
เกียร์ 2 ล้อจะหมุน 2 รอบ
เกียร์ 3 ล้อจะหมุน 3 รอบ
เกียร์ 4 ล้อจะหมุน 4 รอบ ( ล้อหมุนเท่ากับเครื่อง หรือรอบชนรอบ )
เกียร์ 5 ล้อจะหมุน 5 รอบ (ล้อหมุนเร็วกว่าเครื่อง)
รอบของเครื่องยนต์ที่สัมพันธ์กับความเร็วของรถ
เมื่อเราเร่งเครื่องที่ความเร็ว 1500 รอบ *โดยประมาณ
เกียร์ 1 ความเร็ว 10 กม./ชม.
เกียร์ 2 ความเร็ว 20 กม./ ชม.
เกียร์ 3 ความเร็ว 30 กม./ชม.
เกียร์ 4 ความเร็ว 40 กม./ชม.
เกียร์ 5 ความเร็ว 50 กม./ชม.
เกียร์ยิ่งสูงรถยิ่งวิ่งเร็ว แต่กำลังจะน้อย ส่วนเกียร์ต่ำรถวิ่งช้า แต่กำลังจะมาก (เกียร์ 1 กำลังสูงสุด แต่จะวิ่งช้าที่สุด ) เกียร์ต่ำถ้าขับเร็วเรียกว่า ลากเกียร์ การลากเกียร์ด้วยระยะทางยาวๆ เครื่องยนต์จะเกิดความร้อนสูง ทำให้เกิดการสึกหรอเร็ว
*คำว่าโดยประมาณเป็นการใช้ตัวเลขเพื่อให้เกิดความเข้าใจ มิใช่ตัวเลขทางหลักวิชา
ถ้าเป็นรถเกียร์ออโต้ ที่คันเกียร์จะมีอักษรภาษาอังกฤษเรียงตามลำดับดังนี้ P R N _ _ _ _
P คือจอด (เหมือนเกียร์ว่าง แต่ใช้ในกรณีที่ผู้ขับลงจากรถ และไม่ต้องการให้รถเคลื่อนที่ เพราะล้อจะถูกล๊อกอยู่กับเกียร์)
R คือเกียร์ถอย
N คือเกียร์ว่าง
ถัดจากตำแหน่ง N จะมีตัวอักษรไม่เหมือนกันในรถแต่ละรุ่น ส่วนใหญ่จะเป็น D ให้เข้าใจว่าเป็นเกียร์เดินหน้า (ไม่จำกัดความเร็วและระยะทาง) ส่วนอีกสองตำแหน่งที่เหลือให้ใช้ในกรณีที่ รถมีกำลังไม่พอจะขึ้นที่สูง และในตำแหน่งสุดท้ายยังใช้สำหรับการลากรถคันอื่นด้วย
2. **คลัตช์ ( แป้นซ้ายสุดที่เท้า บังคับด้วยเท้าซ้าย )
คลัตช์ก็ทำหน้าที่ตัดต่อ ระหว่างเครื่องกับล้อ คล้ายกับเกียร์ แต่การตัดต่อจะมีลักษณะต่างกัน กล่าวคือเกียร์จะตัดต่อ ในลักษณะขบกัน หรือสวมเข้าหากัน แต่คลัตช์จะตัดต่อในลักษณะประกบกัน ในขณะที่เราเหยียบคลัตช์ คลัตช์จะแยกออกจากกัน เป็นการแยกล้อออกจากเครื่อง เมื่อเราปล่อยคลัตช์ขึ้นมาจนสุด คลัตช์ก็จะประกบตัวจับกันจนแน่น เป็นการต่อล้อเข้ากับเครื่อง
สำหรับรถเกียร์ออโต้จะไม่มีคลัตช์
3. เบรก (แป้นกลางที่เท้า บังคับด้วยเท้าขวา)
เบรกทำหน้าที่ชะลอรถ และหยุดรถ ในกรณีที่รถมีความเร็วสูงกว่า 30 กม./ชม. (ความเร็วจากเกียร์ 3 ขึ้นไป) ควรเหยียบเบรกเพียงอย่างเดียวเพื่อชะลอรถ แต่เมื่อความเร็วลดต่ำกว่า 30 กม./ชม. จะต้องเหยียบคลัตช์ให้สุด ก่อนเหยียบเบรก การหยุดรถในขณะที่รถมีความเร็วสูง ต้องชะลอรถก่อนหยุด (ต้องรู้ระยะของการหยุด) แล้วค่อยๆเหยียบเบรกช้าๆจนกว่ารถจะหยุด) ไม่ควรเหยียบเบรกจนสุดเพื่อหยุดรถทันที ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน เพราะจะทำให้รถเสียการทรงตัว และจะเกิดการชนได้
ถ้าเป็นรถเกียร์ออโต้ สามารถเหยียบเบรกจนรถหยุดได้โดยไม่ทำให้เครื่องดับ
4. คันเร่ง ( แป้นขวาสุดที่เท้า บังคับด้วยเท้าขวา )
คันเร่งทำหน้าที่ เพิ่มรอบของเครื่องยนต์ เป็นการเพิ่มความเร็วของรถ และเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ เป็นการเพิ่มกำลังของรถ การเหยียบคันเร่ง อย่าเหยียบจมทันที ต้องเหยียบจากน้อยไปหามาก จนกว่าจะได้กำลัง หรือความเร็วที่ต้องการแล้วค้างไว้ อย่าเหยียบแล้วปล่อยทันที เพราะรถจะกระชากกลับหรือเสียกำลัง
5.พวงมาลัย
พวงมาลัยทำหน้าที่ควบคุมทิศทางของรถ ตามที่เราต้องการ
เมื่อเข้าเกียร์เดินหน้า ถ้าต้องการให้หัวรถเลี้ยวไปทางใด ให้หมุนพวงมาลัยไปทางด้านที่ต้องการ
เมื่อเข้าเกียร์ถอย ถ้าต้องการให้หัวรถไปทางใดให้หมุนพวงมาลัย ตรงกันข้ามกับด้านที่ต้องการ เช่น ถ้าจะให้หัวรถไปทางซ้ายก็ให้หมุนพวงมาลัยมาทางขวา แต่ถ้าต้องการให้ท้ายรถไปทางใด ก็ให้หมุนพวงมาลัยไปทางด้านที่ต้องการ
ยังมีต่อ.......
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม ติดต่อ
08-6061-3169 และ 08-7800-6235 (กรุณาโทรทั้งสองหมายเลข เพื่อยืนยันการโทร แล้วรอการติดต่อกลับ ) ครูเฮงเป็นกันเองกับทุกคน โทรหาครูเฮงไม่ต้องเกรงใจ โทรได้ทุกเวลาที่เครื่องเปิด
|
|
ผู้ที่กำลังดูกระทู้นี้: 1 ผู้เยี่ยมชม
|