??????
นักวิทยาศาสตร์ถกเครียดอนาคตหุ่นยนต์ เผยหากมีการใช้งานหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้อัตโนมัติควรมีการเตรียมความพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องแต่เนิ่น ๆ และควรป้องกันไม่ให้หุ่นยนต์สามารถตัดสินใจสังหารมนุษย์ได้ตามใจชอบด้วย
??????
?????? จากการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในปัจจุบัน แม้จะเปรียบเหมือนดาบสองคม คือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ก็เป็นข้อเสียที่มากพอจะสร้างความวิตกให้กับนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ของอังกฤษได้จัดให้มีการถกเถียงเกี่ยวกับอนาคตของหุ่นยนต์อย่างกว้างขวาง โดยงานจัดขึ้นที่ The Dana Centre ภายในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์กรุงลอนดอน หัวข้อที่มีการกล่าวถึงคือการใช้งานหุ่นยนต์ในสังคมมนุษย์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
??????
?????? ปัจจุบัน เรามีการใช้งานหุ่นยนต์ทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรม เทคโนโลยีทางการทหาร หรือใช้เพื่ออำนวยความสะดวกภายในครัวเรือน และมนุษย์ได้อาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี พัฒนาให้หุ่นยนต์สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ยกตัวอย่างหุ่นยนต์ในกลุ่มนี้ที่เรารู้จักกันดี และเห็นภาพได้ง่ายคือ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น (vacuum cleaner robot) ซึ่งแม้จะมีความสามารถไม่มากนัก แต่มันก็มีระบบสมองกล เมื่อแบตเตอรี่ใกล้จะหมด มันสามารถวิ่งกลับไปยังที่ชาร์จแบตเตอรี่ได้โดยอัตโนมัติ
??????
?????? ไม่เพียงแต่ประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่ออำนวยความสะดวก มนุษย์เราในปัจจุบันยังมีการใช้หุ่นยนต์เพื่อกิจการทางทหารด้วย ยกตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้ได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ยามสำหรับสังเกตการณ์บริเวณชายแดนของเกาหลีใต้ - เหนือที่กำลังมีปัญหากระทบกระทั่งกัน (ผลงานการผลิตของซัมซุง) โดยในหุ่นยนต์ยังติดตั้งปืนและกล้องดิจิตอลเอาไว้ด้วย
??????
?????? การพัฒนาหุ่นยนต์พร้อมปืนนี้ได้ทำให้ ศาสตราจารย์ อลัน วินฟิลด์ แห่งมหาวิทยาลัยเวสต์อิงแลนด์ (The University of West England) ตั้งคำถามกับเรื่องดังกล่าวว่า ถ้าหากหุ่นยนต์รุ่นที่สามารถตัดสินใจได้อัตโนมัติเกิดตัดสินใจ "ฆ่า" มนุษย์ ความรับผิดชอบ หรือความผิดจะตกอยู่ที่ใคร
??????
?????? "ปัจจุบัน ความรับผิดชอบตกอยู่กับผู้ประดิษฐ์ และผู้ควบคุมหุ่นยนต์ แต่ในอนาคต ถ้าหากหุ่นยนต์จะพัฒนาไปเป็นสู่การปฏิบัติภารกิจอัตโนมัติมากขึ้น ก็ควรมีการพูดคุยเรื่องความรับผิดชอบให้ชัดเจนเสียก่อน ดีกว่าปล่อยให้เกิดปัญหาตามมา"
??????
?????? "ผมคิดว่าการหยิบเรื่องสิทธิ์ของหุ่นยนต์ (Robot rights) มาพูดจะทำให้ประเด็นนี้ไขว้เขวไปเสียเปล่า ๆ สิ่งที่เป็นปัญหาที่แท้จริงคือสังคม มนุษย์ในสังคมใดบ้างที่ควรเตรียมพร้อมต่อการเข้ามาของหุ่นยนต์ประเภทนี้" ศจ.วินฟิลด์กล่าว
??????
?????? การใช้หุ่นยนต์เพื่อดูแลผู้สูงอายุก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สังคมตั้งคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย ปัจจุบันญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ใช้หุ่นยนต์ช่วยดูแลผู้ป่วยสูงอายุแล้ว โดยส่วนมากเป็นงานที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ
??????
?????? "กรณีของหุ่นยนต์ ผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องให้ข้อมูลแก่สาธารณชนว่าวงการหุ่นยนต์มีทิศทางอย่างไร และถามความต้องการจากผู้บริโภค หรือประชาชนด้วยว่า ต้องการให้มันเป็นอย่างไร เหมือนเช่นยุคที่มนุษย์มีการใช้งานนิวเคลียร์"
??????
?????? ด้านศาสตราจารย์ โนเอล ชาร์กกี้ นักวิจัยอาวุโสด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ ได้แสดงความเห็นว่า "หากในอนาคตเรามีการสร้างหุ่นยนต์เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ มันอาจต้องควบคุมประชาชนด้วย ซึ่งผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ ทั้งนี้เราจำเป็นต้องมีการอภิปรายให้สาธารณชนรับทราบ เพื่อให้เขาร่วมแสดงความเห็น"
?????? พร้อมกันนี้เขายังเห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันมุ่งเน้นที่การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มากเกินไป แต่ขาดการบัญญัติเกี่ยวกับความปลอดภัย จริยธรรม และมาตรฐานของหุ่นยนต์ จึงทำให้เกิดความไม่สมดุลกันในที่สุด
?????? หากมองโลกในแง่ร้าย ทุกเทคโนโลยีล้วนมีดาบคม แต่หากมองแง่ดี เชื่อว่าหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติภารกิจอัตโนมัติก็มีประโยชน์มากหลายแฝงอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้วางกฎว่าจะสามารถควบคุมให้เป็นไปตามเจตนารมย์เริ่มแรกได้มากน้อยเพียงใด
??????
?????? เรียบเรียงจากบีบีซีนิวส์ และไฟแนนเชียลไทม์
ที่มา: Manager Online