โรคหัวใจเป็นโรคที่ควรเฝ้าระวังเพราะเป็นอันตรายถึงชีวิต
โรคหัวใจ มีอาการ แตกต่างกันตามชนิดของโรค เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ลิ้นหัวใจรั่ว เยื่อหุ้มหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจรูมาติก และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โดยทั่วไปพบว่ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายและหอบเวลาออกแรงมาก ใจสั่น เป็นลมหมดสติโดยไม่รู้สาเหตุ และขาบวม หากพบสัญญาณเตือนเริ่มแรกควรตรวจคัดกรอง
โปรแกรม ตรวจ หัวใจ ประจำปีเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรคและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาฟื้นฟูหัวใจทำให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ
อาการเสี่ยงโรคหัวใจที่พบบ่อย มีดังนี้
-อาการเหนื่อยง่าย หายใจเร็วกว่าปกติ เดินเร็วหรือออกกำลังกายแล้วรู้สึกเหนื่อยง่าย เป็นลมขณะใช้แรงมากและทำงานหนัก มักมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบ หายใจเสียงดัง บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นพูดไม่ได้ หรือใจสั่นร่วมด้วย ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ ตื่นมานั่งหอบตอนกลางคืน ถือเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคหัวใจและเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
-อาการวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะไม่สม่ำเสมอ ชีพจรเต้นช้า เต้นเร็ว เกิดอาการใจสั่น อ่อนเปลี้ยเพลียแรง ร่วมกับอาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็นสัญญาณของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
-อาการแน่นหน้าอก เจ็บแน่นบริเวณกึ่งกลางหน้าอก เหมือนมีคนนั่งกดทับหรือเหยียบบนหน้าอก อาจปวดร้าวบริเวณกราม ไปถึงคอ หลัง ท้องแขน และบริเวณท้อง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก ใจสั่น สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
-อาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติไม่รู้สึกตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ โรคหัวใจ อาการ วูบเป็นลมกะทันหันไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า จัดว่าเป็นภาวะร้ายแรงที่อันตรายมาก เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจล้มเหลว
-อาการขาบวมผิดปกติ เกิดจากหลอดเลือดตีบตันทำให้เลือดที่ขาไหลไปสู่หัวใจด้านขวาได้น้อย เกิดอาการเลือดที่คั่งค้างส่งผลให้ขาบวมผิดปกติ โดยเฉพาะข้อเท้าและหน้าแข้ง เป็นอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจโต หรือกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
-อาการแขนขาบวม บวมบริเวณหน้าแข้งและปลายนิ้วเท้า ลองกดนิ้วบนผิวให้บุ๋มลงไปแล้วพบว่าผิวเนื้อคืนตัวช้า ผิวเป็นสีฟ้าหรือสีเขียว ร่วมกับอาการหายใจถี่ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หัวใจเต้นจังหวะผิดปกติ มีอาการแน่นท้องร่วมด้วย สาเหตุมาจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจบางชนิดป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพเสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจตั้งแต่เริ่มแรก แนะนำให้ ตรวจ สุขภาพ ประ จํา ปี เพื่อให้แพทย์ตรวจเช็คประวัติและตรวจทุกระบบของร่างกาย รวมไปถึงตรวจสอบเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคและระดับความรุนแรงของโรค thailand hospital สามารถวางแผนการรักษาได้รวดเร็วแม่นยำ โรคหัวใจพบบ่อยเมื่ออายุมากขึ้น สาเหตุเกิดจากไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่จัด ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหัวใจชนิดอื่นๆ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีมีโอกาสเสียชีวิตได้ ดูแลหัวใจให้ดีด้วยการตรวจสุขภาพทุกปีป้องกันไว้ดีกว่าแก้