นายพิรุณ กริ่มวงษ์รัตน์ ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมและบำรุงรักษา บริษัท พีทีที โกลบอลเคมีคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อยากชวนประชาชนไปเยี่ยมเกาะเสม็ด ทะเลใส ฟ้าสวย การเดินทางสะดวกรวดเร็ว เดินทางด้วยสปีดโบ๊ทใช้เวลาเดินทาง 15 นาที หรือเลือกนอร์มอลโบ๊ท ใช้เวลา 40 นาที เลือกท่าขึ้นลงได้ สามารถเข้าไปเที่ยวได้ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม แต่กังวลเรื่องการลงเล่นน้ำ ส่วนการอยู่ตามชายหาดทำได้ตามปกติ
ทั้งนี้ เพราะมีการติดค่าเฝ้าระวังของกรมควบคุมมลพิษ หรือค่า TPH Total Petroleum Hydrocarbon (TPH) และไม่ได้ร้ายแรง เฝ้าระวัง ประชาชนหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีสารดังกล่าว ห้ามเล่นน้ำต่อเนื่องยาวนาน ปัจจุบันจึงมั่นใจว่าปลอดภัย ประชาชนสามารถลงเล่นน้ำได้ตามปกติ เนื่องจากการขจัดเองโดยธรรมชาติ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม เป็นต้นมา ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่า PH ค่าตะกอน ค่าน้ำมัน ฟิล์มน้ำมัน ทุกอย่างกลับคืนสู่สภาพเดิม แต่เฝ้าระวังเพียงค่า TPH ซึ่งปัจจุบันปกติแล้ว กรมควบคุมมลพิษเตรียมประกาศแล้ว
สำหรับอาหารทะเล ปลอดภัย รับประทานได้ ที่ผ่านมาจัดให้มีการรับประทานอาหารทะเลฟรี มีประชาชนมาร่วมงานจำนวนมาก
มีเสียหายช่วงแรก พบ
ปะการังฟอกขาว แต่นักวิชาการยืนยันว่าเป็นธรรมชาติในช่วงนี้และตกใจเวลามีสิ่งแปลกปลอมทำให้ปรับตัวเอง
นายสุรจิต สถาพรวลัยรัตน์ เจ้าหน้าที่อาวุโสสิ่งแวดล้อม บริษัท พีทีที โกลบอลเคมีคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์
น้ำมันรั่วไหล เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัท พีทีที โกลบอลเคมีคอล จำกัด (มหาชน) มีความเสียใจ อย่างไรก็ตามมีการจัดการน้ำมันที่รั่วไหลด้วยระยะเวลาอันสั้น ฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบต่างๆ ภาพรวมของหาดเมื่อวันที่เกิดเหตุ มีการจัดตั้งทีมในการนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน
ได้แก่ กองทัพเรือ กองทัพบก หน่วยงานในท้องถิ่น จังหวัด เพื่อฟื้นฟูสภาพอ่าวพร้าว ทำให้ภายในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์สามารถเก็บน้ำมันได้หมด หลังจากนั้นเข้าสู่การมอนิเตอร์เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำ ชายหาด และอากาศ การเฝ้าระวังได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ และมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยดูแลไม่ว่าจะเป็นปะการัง หรือสัตว์น้ำต่างๆ
จากเดิมมีคราบน้ำมันเต็มหาด มีการจัดเก็บคราบน้ำมันในน้ำและในทราย ปัจจุบันไม่มีการปนเปื้อน ทรายที่มีการปนเปื้อนนำไปกำจัดโดยวิธีการเผา ส่วนทรายที่เห็นในปัจจุบันเป็นทรายที่เกิดการหมุนเวียนใหม่จากหน้ามรสุม ทดแทนหมุนเวียนโดยธรรมชาติ
กลไกการเก็บ
คราบน้ำมันในน้ำใช้อุปกรณ์ในการตักออกจากผิวน้ำ ส่วนการเก็บน้ำมันที่ปนเปื้อนบนทรายโดยการใช้วิธีแมคคานิคโดยตักเก็บน้ำมันบนชั้นทรายปนเปื้อนขึ้นมาและนำทรายไปกำจัด หากทรายมีการปนเปื้อนน้อยจะใช้วิธีบำบัดโดยธรรมชาติ โดยการไถพรวนเพื่อพลิกหน้าดิน นำทรายปนเปื้อนเล็กน้อยขึ้นมา ในทะเลมีสิ่งมีชีวิตมากมากที่พร้อมย่อยสลายน้ำมัน สิ่งแวดล้อมสามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเองแต่ต้องใช้เวลา
การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำดูค่า TPH Total Petroleum Hydrocarbon (TPH) เป็นตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษหรือไม่ ปัจจุบันคุณภาพน้ำใสเหมือนเดิม ไม่มีคราบน้ำมัน ส่วนค่า TPH อยู่ในค่าปกติ นักท่องเที่ยวเริ่มกลับมาท่องเที่ยวเหมือนเดิม ดัชนีชี้วัดคุณภาพของน้ำ สัตว์น้ำกลับมาแล้ว ปู ปลา แมงกะพรุน เคย ส่วนหาดทรายดูจากปู หอย ที่เกาะตามหินต่างกลับมาแล้วเช่นกัน
ค่า TPH หรือ Total Petroleum Hydrocarbon (TPH) เป็นพารามิเตอร์ ดัชนีสำหรับตรวจสอบคุณภาพน้ำมันที่ปนเปื้อนน้ำ กรมควบคุมมลพิษกำหนดมาตรฐานไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นค่ามาตรฐานของแหล่งสันทนาการ บางท่าเรืออาจมีค่าเกินมาตรฐาน แต่สำหรับแหล่งสันทนาการต้องไม่เกินค่าที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดเนื่องจากมีผลต่อสุขภาพคน
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับอ่าวพร้าวได้ที่
http://www.xn--l3cka3a5ap6c8a5f6c2a.com/