ตอบกระทู้ 
 
คะแนนกระทู้:
  • 0 Votes - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
ไวแมกซ์ WiMAX vs. แอลทีอี LTE
Thu, 15 Jan 09, 22:06
Post: #1
ไวแมกซ์ WiMAX vs. แอลทีอี LTE
   
ภายในแวดวงโทรคมนาคมได้มีการเปรียบเทียบเทคโนโลยีต่างๆ มาโดยตลอดแต่ยังหาที่ยุติไม่ได้

โดย : ลอฮอง แปร์ซ หัวหน้าฝ่ายโซลูชั่นสำหรับลูกค้า แผนกโซลูชั่นและการตลาด
บริษัท อัลคาเทล-ลูเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด


ยกตัวอย่างเช่น ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการเปรียบเทียบของ “GSM กับ CDMA” และ “IP กับ ATM’ ที่จริงแล้วการเปรียบเทียบเหล่านี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติในแวดวงโทรคมนาคมเหมือนๆ กับที่มีการถกเถียงคล้ายๆ กันนี้ในแวดวงอื่นๆเช่นกัน ทั้งแวดวงเครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆ อีกมากมาย

ทุกคนคงจำเรื่อง ‘Betamax กับ. VHS’ ได้จากปลายยุค 80 และเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีเรื่องของรูปแบบ ‘Blueray’ ที่เอาชนะ ‘HD DVD’ ไปได้ เรื่องซับซ้อน ในข้อถกเถียงทางเทคนิคนั้นไม่ใช่ปัจจัยตัดสินใจใดๆ เลย

หากแต่สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญจะเป็นความคุ้มราคา ความง่ายในการใช้งาน หรือ ความได้มาตรฐานทั่วไป ในกรณีตัวอย่างของเครื่องเล่นวีดีโอ (VCR) ถึงแม้ ‘Betamax’ จะเป็นเทคโนโลยีที่เหนือกว่าในเกือบทุกมุมมอง ปัจจัยความแตกต่างที่ทำให้เครื่องเล่นวีดีโอในระบบ ‘VHS’ ชนะคือความสามารถในการบันทึกที่บ้านได้นานกว่านั่นเอง

วันนี้ ยุคของเครื่องอัด/เล่นวีดีโอแบบคาสเซ็ทได้สิ้นสุดไปแล้ว ขณะที่เรากำลังเข้าสู่ยุคของการที่คนสามารถสร้างรายการเอง เลือกดูรายการได้ตามต้องการ (Video Creation User Generated Content) และกาสร้างเครือข่ายหาเพื่อน (social networking)

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ด้วยบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตที่มีความแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ด้วยผลกระทบอันมหาศาลที่เกิดขึ้นจากบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในทศวรรษที่ผ่านมา และความสำเร็จอย่างล้นพ้นของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปัจจุบันนี้เรื่องของบรอดแบนด์เคลื่อนที่จึงมีความสำคัญ เพราฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ แอลทีอี และ ไวแมกซ์จึงกลายมาเป็นจุดสนใจ และก่อให้เกิดการถกเถียงกันถึงเรื่องที่ว่า เทคโนโลยีไหนดีที่สุดอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งแอลทีอี และไวแมกซ์ ได้รับการขนานนามว่าเทคโนโลยี “4จี” โดยมีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขข้อจำกัดของ “3จี” หรือเทคโนโลยี Third Generation (รุ่นที่สาม) เทคโนโลยีรุ่นที่สามนั้นเริ่มต้นมาจากวิสัยทัศน์ และความต้องการของ International Telecommunications Union (ไอทียู) ซึ่งอยู่ในขอบเขตการทำงานของ International Mobile Telecommunications แห่งปี 2000 (IMT-2000)

ทั้งนี้ เป็นเรื่องธรรรมดาของมาตรฐานที่วันหนึ่งจะมาถึงขีดจำกัดและถึงทำให้เกิคความจำเป็นที่จะต้องการพัฒนาการเพื่อมารองรับวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของ IMT-Advanced ซึ่งเป็นแนวคิดจากไอทียูเพื่อให้ระบบการสื่อสารไร้สายที่มีความสามารถเกินกว่ามาตรฐาน IMT-2000 เดิมและเป็นแนวคิดเพื่อการตั้งเกณฑ์ข้อบังคับให้กับมาตรฐานใหม่ต่างๆ ให้กับการสื่อสารไร้สายยุคที่สี่

ถึงแม้ไอทียูจะออกเอกสารให้คำแนะนำเพื่อเป็นการให้คำจำกัดความอย่างละเอียดถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่อยู่ภายใต้เทคโนโลยี IMT-Advanced แล้ว ทาง “4จี” เองได้รับคำนิยามว่า เป็นเทคโนโลยีเคลื่อนที่ใดก็ตามที่ให้ความเร็วทรูพุธมากกว่า 100 Mbps บนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นไอพีทั้งเครือข่าย ทั้งนี้ ทั้ง ไวแมกซ์ และ แอลทีอี ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในฐานะเทคโนโลยี IMT-2000 เรียบร้อยแล้ว ในขณะที่รุ่นที่วิวัฒนาการต่อมาคือ ไวแมกซ์ 802.16m และ LTE Advanced นั้นยังจะต้องมีคุณสมบัติผ่านข้อกำหนดตามมาตรฐาน the IMT-Advanced เสียก่อน จึงจะเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยี 4จี ในที่สุด

การใช้ 4จี เพื่ออธิบายถึงเทคโนโลยีในปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญต่อตำแหน่งทางการตลาด

เมื่อไม่นานมานี้ในปี 2008 เส้นทางของ 4จี นั้นมีความชัดเจนขึ้นมาก ทั้งที่ มีการเลิกใช้พัฒนาการ Ultra-Mobile Broadband (UMB) อย่างเป็นทางการแล้ว แต่ทั้งแอลทีอี และไวแมกซ์เท่านั้นที่ยังเป็นทางเลือกที่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ แม้ว่าปรากฏการณ์นี้จะช่วยทำให้สถานการณ์ชัดเจนขึ้นสำหรับผู้ให้บริการหลายรายทั่วโลก แต่ก็ยังมีความสับสน และการต่อต้านระหว่างผู้ที่สนับสนุนแต่ละเทคโนโลยี

ปัญหาหลักนั้นคือ วิวัฒนาการของเครือข่ายและเทคโนโลยีที่รองรับนั้นถูกขับเคลื่อนโดยการแข่งขันมากกว่าความต้องการของตลาด รูปแบบธุรกิจประเภทบรอดแบนด์ไร้สายในปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีรุ่นที่สาม (3จี - Third Generation) นั้นเป็นธุรกิจที่ท้าทายและทำกำไรได้ยาก ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ไวแมกซ์เกิดขึ้นในตอนแรก ในขณะที่เทคโนโลยีเคลื่อนที่แบบดั้งเดิมถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการใช้ข้อมูลเสียง โดยที่ใช้บริการด้านข้อมูลน้อยหรือไม่ใช้เลย

ด้วยสัญญาให้บริการเชิงพาณิชย์ทั่วโลกมากกว่า 100 สัญญาและการเปิดให้บริการไวแมกซ์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่แห่งแรกกับผู้ให้บริการสปรินท์ (Sprint) ในสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดการนำเทคโนโลยีไวแมกซ์ไปใช้ทั่วโลก เป็นที่น่าแปลกใจว่า การที่ไวแมกซ์นั้นพัฒนาไปอย่างรวดเร็วยิ่งทำให้การสร้างมาตรฐานของแอลทีอี นั้นยิ่งเกิดอย่างรวดเร็วมากขึ้น

จากมุมมองทางเทคนิคแล้ว แอลทีอี และไวแมกซ์นั้นมีความคล้ายคลึงกันเนื่องจากมี IP และ OFDM เป็นแกนหลัก ซึ่ง OFDM นั้นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่ด้วยลำดับขั้นตอนที่ซับซ้อนจึงทำให้เพิ่งเริ่มนำมาใช้ทางพาณิชย์เมื่อเร็วๆ นี้เมื่อราคาหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ได้มาถึงจุดเปลี่ยนและลดลงอย่างมาก ทำให้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีชนิดนี้มาใช้ นอกจากแอลทีอี และ ไวแมกซ์แล้ว ไวไฟ และดีเอสแอล ก็ยังใช้เทคโนโลยี OFDM อีกด้วย มาตรฐานต่างๆ ของเทคโนโลยีสองชนิดนี้อยู่ในระหว่างการสรุปข้อกำหนดและน่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2010 อย่างไรก็ตาม ไวแมกซ์มีข้อได้เปรียบเล็กน้อยเนื่องจาก 802.16e ได้รับการรับรองมาตรฐานมาเป็นเวลาระยะหนึ่งแล้ว ในขณะที่มาตรฐานของแอลทีอี ยังอยู่ในกระบวนการที่ใกล้สำเร็จ

อย่างไรก็ตาม สองเทคโนโลยีนี้ก็ยังมีข้อแตกต่างกันที่สำคัญ เช่น ไวแมกซ์นั้นอยู่บนฐาน IEEE ในขณะที่แอลทีอี เป็นพัฒนาการบน 3GPP ทั้งนี้ มาตรฐานจาก IEEE มักจะไปเพื่อระบบที่เป็นแบบเปิดมากกว่าจะรองรับ 3GPP ถึงแม้ว่า 3GPP จะพยายามสร้างให้เป็นระบบเปิดก็ตาม ข้อแตกต่างหลักของไวแมกซ์ และแอลทีอีคือกลยุทธ์ในการใช้งานเครือข่าย กล่าวคือ ไวแมกซ์จะต้องการเครือข่ายใหม่ ในขณะที่แอลทีอีเป็นการวิวัฒนาการบนเครือข่าย WCDMA/HSPA เดิม จึงทำให้ได้เปรียบเนื่องจากมีผู้ใช้เครือข่ายนี้อยู่แล้วกว่าร้อยละ 80 ทั่วโลก ทั้งนี้ เนื่องจาก กใช้ได้เลิก UMB ไปแล้ว จึงทำให้ผู้ให้บริการทั้งประเภทซีดีเอ็มเอ และ จีเอสเอ็มต่างมุ่งหน้าสู่แอลทีอี

ปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ คลื่นความถี่ ทั้งนี้ ประชากรบนโลกกว่าครึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการมอบใบอนุญาตไวแมกซ์แล้ว โดยส่วนมากคลื่นความถี่ที่ได้รับใบอนุญาตคือ TDD 2.3 GHz, 2.5 GHz และ 3.5 GHz ในขณะนี้ สหรัฐอเมริกามีการศึกษาการใช้งานของ WiMAX FDD บนคลื่นความถี่ 1.7 GHz DL หรือ 2.1GHz UL เนื่องจากผู้ให้บริการต่างๆ ได้ลงทุนซื้อคลื่นความถี่มาแล้ว ทั้งนี้ยังมีการเริ่มใช้คลื่นความถี่ 700 MHz เพื่อให้เข้าถึงครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่เป็นไปได้ง่ายขึ้นโดยมีค่าใช้จ่ายลดลง

ในทางตรงการข้ามแอลทีอี มีความยืดหยุ่นมากกว่าไวแมกซ์เนื่องจากผู้ให้บริการ 3GPP มีคลื่นความถี่แล้วและพร้อมใช้แอลทีอี

ทั้งนี้แอลทีอีจะเริ่มใช้งานและสามารถติดตั้งบนความถี่ขนาดใดก็ได้ตั้งแต่ 2.1GHz, AWS, 700MHz, 2.6GHz, 900 และ 1800MHz ทั้งนี้ แอลทีอี มีความหยืดหยุ่นสูงเนื่องจากสามารถติดตั้งในย่านความถี่ตั้งแต่ 1.3MHz จนถึง 20MHz จึงทำให้สามารถเพิ่มแอลทีอีเข้าไปในความถี่บนเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมได้ และ ด้วยความต้องการของตลาด จึงทำให้ LTE TDD นั้นกำลังผ่านกระบวนการวางมาตรฐานโดยเฉพาะในประเทศจีนทีเชื่อมต่อด้วย TD-SCDMA จึงทำให้ ในทั้งสองกรณี ทั้งเรื่องคลื่นความถี่และการจัดแจกความถี่จะส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อคุณภาพและแบนวิธที่ผู้ใช้จะได้รับ

ดังนั้น หากมีการออกใบอนุญาตสำหรับเทคโนโลยีทั้งสองชนิดแล้ว การเลือกใช้เทคโนโลยีชนิดใดชนิดหนึ่งนี้อาจขึ้นอยู่กับบริการที่สามารถมอบให้กับผู้ใช้ได้เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน

สรุปแล้ว ในสภาพตลาดทุกวันนี้ วิวัฒนาการหลายๆอย่างมีความเป็นไปได้ อัลคาเทล-ลูเซ่นช่วยให้ผู้ให้บริการประสบความสำเร็จในการเติบโตด้านธุรกิจและเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยการเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยีที่เป็นกลาง

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/2009/01/07...325512.php

^ ^ เที่ยวไป เขียนไป ออกไปมองโลกใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเห็นด้วยสายตาตัวเอง ^ ^
เยี่ยมชมเว็บไซต์ของสมาชิกท่านนี้ ค้นหาข้อความทั้งหมดของสมาชิกท่านนี้
อ้างถึงข้อความนี้ในการตอบกระทู้
ตอบกระทู้ 


** ข้อแตกต่างระหว่างการตอบกระทู้โดยใช้กล่อง comment ของ Facebook กับกล่องตอบข้อความของทางเว็บ


กระทู้ที่คล้ายกัน...
กระทู้: ผู้ตั้งกระทู้ ตอบ: ดู: ข้อความล่าสุด
  ญี่ปุ่นลุยไวแม็กซ์ (WiMAX) เร็วที่สุดในโลก ComMan 0 4,622 Sat, 20 Jun 09 19:22
ข้อความล่าสุด: ComMan

ไปยังหัวข้อ:


ผู้ที่กำลังดูกระทู้นี้: 1 ผู้เยี่ยมชม