ตอบกระทู้ 
 
คะแนนกระทู้:
  • 0 Votes - 0 Average
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
มาตรฐานและข้อกำหนด การติดตั้งวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต
Wed, 06 Sep 23, 12:23
Post: #1
มาตรฐานและข้อกำหนด การติดตั้งวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต
[Image: dWotTqk.jpeg]

ปัจจุบัน วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต เป็นรูปแบบการติดตั้งที่ผู้ออกแบบและช่างไฟฟ้าเลือกใช้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากไฟไหม้ และเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่ "วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต" ซึ่งจะช่วยให้วงจรที่ออกแบบไว้สามารถป้องกันไฟไหม้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับอาคารที่มีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

มาตรฐานสำคัญของวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตมีอะไรบ้าง
ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 “วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต” คือ วงจรที่ถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถทนต่อความร้อนจากไฟไหม้ มักเหมาะกับการติดตั้งในอาคารสูงใหญ่ หรือสถานที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ การอพยพคนออกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตนี้ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องยาวนานเพียงพอที่จะอพยพคนหนีออกมา โดยที่ไม่ลัดวงจรได้

ข้อกำหนดการทนไฟของระบบวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต
สำหรับระบบวงจรช่วยชีวิต ตามมาตรฐานของทางไฟฟ้า จะต้องมีระบบการเดินสายไฟ ไม่ว่าจะเป็น สายเมนไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ตามข้อกำหนดของแต่ละระบบ อันได้แก่

1. สายไฟฟ้าทนไฟได้ตามมาตรฐาน BS 6387
สายไฟสำหรับวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ต้องสามารถทนไฟได้ในระดับมาตรฐาน BS 6387 ในระดับชั้น CWZ หรือสายเคเบิลชนิดเอ็มไอ ซึ่งได้แก่ระบบต่อไปนี้
    - ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง กรณีฉุกเฉินไปยังแผงจ่ายไฟเพื่อหนีภัย
    - ระบบอัดอากาศสำหรับบันไดหนีไฟ
    - ระบบดูดและระบายควัน รวมทั้งระบบควบคุมการกระจายของไฟและควัน
    - ระบบเครื่องสูบน้ำและระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
    - ระบบลิฟต์ดับเพลิง

2. สายไฟฟ้าทนไฟได้ตาม มอก. 2755 หรือ IEC 60331
วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ต้องสามารถทนไฟที่เป็นไปตามกำหนดไว้ในแต่ละมาตรฐานฯ พร้อมทั้งมีคุณสมบัติการปล่อยก๊าซกรดตาม มอก. 2757 หรือ IEC 60754-1 และ IEC 60754-2 อีกทั้งยังมีคุณสมบัติการปล่อยควันตาม มอก. 2758 หรือ IEC 61034-2 ซึ่งสามารถใช้กับระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้และระบบสื่อสารฉุกเฉิน รวมถึงระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินได้

การรับรองความพร้อมของวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต
สำหรับผู้ให้การรับรองก่อนการเปิดใช้อาคาร จะต้องให้วิศวกรไฟฟ้าที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเป็นผู้รับรองความสมบูรณ์ของระบบวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตเท่านั้น รวมถึงระยะเวลาการตรวจ การรับรองต้องจัดทำรายงานตรวจสอบและทดสอบระบบวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิตปีละ 1 ครั้ง

การติดตั้งวงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และต้องสอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

หากวิศวกรไฟฟ้าหรือช่างไฟท่านใด ต้องการตู้ไฟ รางไฟคุณภาพดี ทนทุกสภาพการใช้งาน และตรงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่
LINE Official Account: @KJL.connect
Facebook: facebook.com/KJLElectric
ค้นหาข้อความทั้งหมดของสมาชิกท่านนี้
อ้างถึงข้อความนี้ในการตอบกระทู้
ตอบกระทู้ 


** ข้อแตกต่างระหว่างการตอบกระทู้โดยใช้กล่อง comment ของ Facebook กับกล่องตอบข้อความของทางเว็บ


ไปยังหัวข้อ:


ผู้ที่กำลังดูกระทู้นี้: 2 ผู้เยี่ยมชม