ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว
ฝึกการรักษาความสะอาดของลูกน้อยให้ดูแลเรื่องฟันและการกินขนมหวาน - Printable Version

+- ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว (http://www.thaibuddytrip.com/forum)
+-- Forum: ประสบการณ์อื่นๆ (/forumdisplay.php?fid=1)
+--- Forum: พูดคุยทั่วไป (/forumdisplay.php?fid=20)
+--- Thread: ฝึกการรักษาความสะอาดของลูกน้อยให้ดูแลเรื่องฟันและการกินขนมหวาน (/showthread.php?tid=57452)



ฝึกการรักษาความสะอาดของลูกน้อยให้ดูแลเรื่องฟันและการกินขนมหวาน - lovewins - Thu, 16 Sep 21 20:48

[Image: 1a7049bcc919f41dc93d96a85029f2d3.jpg]

ความเป็นพ่อเป็นแม่ สิ่งที่กังวลที่สุด ตั้งแต่ตอนทราบว่าตั้งครรภ์และกำลังมีลูกน้อย ความห่วงและความกังวลใจจะตกไปอยู่ที่เรื่องของลูกน้อยเป็นหลัก ว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์ดีหรือไม่ คุณแม่รับประทานอาหารที่มีสารอาหารเพียงพอต่อลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า และอาหารประเภทใดที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดต่อลูกในท้องได้

เมื่อการเลี้ยงและดูแลเด็กตั้งแต่วัยทารกจนกระทั่งเติบโตเจริญวัย แต่ละก้าวของความเจริญเติบโตของเด็กๆนั้น ต่างก็มีความสำคัญต่อพ่อแม่เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นแล้วพ่อแม่จึงต้องใส่ใจสุขภาพและการรักษาความสะอาดที่เป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขอนามัยที่ดี โดยเฉพาะเนื่องการดูแลและทำความสะอาดฟันและช่องปาก เพราะเด็กๆนั้นชอบรับประทานขนมและของหวาน และไม่ชอบการแปรงฟัน อาจนำมาซึ่งการเกิดฟันผุในเด็กและต้องถอนฟัน หรือที่เรียกว่า tooth extraction ออกได้ ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพฟันในเด็กเท่านั้นที่พ่อแม่ต้องกังวล แต่ยังรวมไปถึงโรคอ้วนในวัยเด็กอีกด้วย ซึ่งทางเว็บไซต์ bumrungrad ได้แชร์บทความไว้ว่า สาเหตุของโรคอ้วนในเด็ก โรคอ้วนในเด็กเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักๆเกิดจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม คือการกินมากกว่าที่ใช้ไปและวิถีชีวิตแบบนั่งๆนอนๆ (Sedentary Lifestyle) ไม่ว่าเป็นการเล่นวิดีโอเกม ดูทีวี เล่นไอแพดเป็นเวลานานโดยขาดการออกกำลังกาย นอกจากนี้เด็กบางคนอาจมีปัญหาทางจิตใจ เช่น อาการซึมเศร้า ทำให้กินมากเกินไป ส่วนสาเหตุของโรคอ้วนอื่นๆพบได้น้อยมาก เช่น เกิดจากความผิดปกติทางฮอร์โมน , เป็นโรคทางสมอง ทำให้กินไม่รู้จักอิ่ม หรือเกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรมบางอย่าง ยีนผิดปกติ เช่น Prader Willi syndrome หรือ ขาดยีนบางอย่าง การวินิจฉัยว่าเด็กเป็นโรคอ้วนหรือไม่ให้พิจารณาน้ำหนักเทียบกับส่วนสูง การวัดค่าความอ้วนทำได้ด้วยการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) แล้วนำไปเปรียบเทียบกับกราฟ BMI แยกตามเพศและอายุว่าอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ที่เท่าไหร่ ถ้าเกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 85-95 ของเกณฑ์ถือว่าอยู่ในระยะอวบ แต่ถ้าเกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95 ของเกณฑ์ถือว่าอ้วน นอกจากนี้แพทย์ยังอาจทำการตรวจเลือดเพื่อดูเบาหวาน ระดับไขมันในเลือด ค่าตับ ค่าไต ฮอร์โมนคอร์ติซอลและระดับวิตามินดี รวมถึงตรวจว่ามีปัญหาไทรอยด์หรือไม่ ประกอบกับการสอบถามประวัติ เช่น ประวัติความเจ็บป่วยในครอบครัว สภาพจิตใจของเด็ก เป็นต้น ปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากโรคอ้วนในเด็ก ก็มีทั้ง ไขมันในเลือดสูง ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ความดันโลหิตสูง เบาหวานที่เกิดจากความอ้วน หยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ภาวะไขมันพอกตับ ขาดวิตามินดี ทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง เพราะถูกเพื่อนล้อและอาจมีอาการซึมเศร้าตามมาได้ ในเด็กโตเพศหญิงจะเสี่ยงต่อภาวะ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) หรือภาวะที่รังไข่สร้างฮอร์โมนเพศชายออกมามากเกินไปทำให้ไข่ไม่ตก สังเกตได้จากเด็กประจำเดือนมาผิดปกติ ขนดกและสิวเยอะ