หัวเทียน หัวใจเครื่อง - Printable Version +- ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว (http://www.thaibuddytrip.com/forum) +-- Forum: ประสบการณ์อื่นๆ (/forumdisplay.php?fid=1) +--- Forum: ยานยนต์ Auto (/forumdisplay.php?fid=9) +--- Thread: หัวเทียน หัวใจเครื่อง (/showthread.php?tid=477) |
หัวเทียน หัวใจเครื่อง - Nobita - Mon, 05 Jan 09 21:43 [attachment=991] ความจริงแล้วก็ไม่อยากจะแนะนำนัก ในเรื่องการถอด การเปลี่ยนหัวเทียน โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยได้จับเครื่องไม้เครื่องมือสักเท่าไร แต่ก็รู้ไว้ใช่ว่า และก็ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอะไรนัก อีกทั้งเป็นการเผื่อเอาไว้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น หัวเทียนบอดขึ้นมา ตามหลักการแล้วรถเบนซินทุกคัน ควรจะติดหัวเทียนเอาไว้สักหัวสองหัว กรณีฉุกเฉิน ซึ่งแม้ว่าเจ้าของรถจะเปลี่ยนเองไม่เป็น ก็ยังไหว้วานคนดีมีน้ำใจที่ผ่านไปผ่านมา ให้ช่วยได้ หัวเทียน แน่นอนว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญของเครื่องยนต์ที่ใช้เบนซิน แก๊สโซฮอล์ ซีเอ็นจี หรือ แอลพีจี มีหน้าที่ในการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับทั้งความร้อนที่สูงมาก แรงดัน และเขม่า ดังนั้นนานๆ เข้า หัวเทียนก็สกปรก สึกหรอได้ จึงจำเป็นต้องทำความสะอาด และปรับตั้งระยะเขี้ยวให้พอเหมาะ ซึ่งรถใหม่ๆ ที่ยังเข้าศูนย์บริการตามระยะ ก็ไม่มีปัญหา เพราะศูนย์เขาจะจัดการทุกอย่างให้เรียบร้อย รวมถึงเปลี่ยนเมื่อถึงเวลาด้วย ทีนี้มาถึงการถอดจะทำอย่างไร ขั้นแรกต้องดับเครื่องยนต์ แล้วเปิดกระโปรงดึงสายหัวเทียนออกก่อน และเพื่อป้องกันการใส่คืนผิดที่ ก็ให้ทำเครื่องหมายเอาไว้ 1...2...3...4 หรือจะ 5 จะ 6 หรือ 8 หรือ 12 ก็แล้วแต่เครื่องยนต์ และก่อนที่จะถอดหัวเทียนออก ให้ทำความสะอาดทั้งตัวหัวเทียน และบริเวณรอบๆ ให้สะอาดที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เศษฝุ่นละอองหรืออย่างอื่น ตกลงไปในกระบอกสูบ เมื่อถอดได้แล้วก็ให้ใช้กระดาษทรายทำความสะอาดขั้วหัวเทียน และตรวจสอบระยะห่างตามคู่มือ พร้อมกับดูความผิดปกติอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น เปียกชื้น จากน้ำมันหล่อลื่น หรือว่าคราบเขม่า มันมากเกินผิดปกติ เพื่อที่จะได้แจ้งช่างได้ถูกเมื่อนำรถเข้าศูนย์หรืออู่ เพราะอาการทั้ง 2 อย่างที่ว่า มันบ่งบอกว่าเครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว ให้ล้างด้วยน้ำมันเบนซิน ก่อนที่จะใส่มันกลับคืนไปที่เดิม ส่วนคนที่มีปัญหารถสตาร์ทไม่ติดหรือติดสะดุดๆ เครื่องเดินไม่เต็มสูบ และคิดว่าน่าจะมีผลมาจากหัวเทียน ก็ให้ทดสอบง่ายๆ ด้วยการถอดหัวเทียนออกมา โดยเสียบสายหัวเทียนเอาไว้ จากนั้นหาคีม (แบบที่มือจับมีฉนวน) คีบไว้ แล้วนำไปจ่อกับชิ้นส่วนโลหะ เช่นตัวถัง ระมัดระวังอย่าไปจ่อใกล้ๆ กับที่มันมีน้ำมันเบนซิน หรือแบตเตอรี่ จากนั้นสตาร์ทรถ ดูว่ามีประกายไฟหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ทดสอบซ้ำ โดยเปลี่ยนสายหัวเทียน ถ้าอาการยังเหมือนเดิม ก็แน่นอนว่า หัวเทียนนั้นเสีย จัดการเปลี่ยนใหม่เสีย ส่วนใครที่ได้ยินได้ฟังมาว่า หัวเทียนอย่างนั้นดี สายหัวเทียนอย่างนี้แรง และอยากจะไปซื้อมาใช้บ้าง แนะนำว่าให้อยู่เฉยๆ ดีกว่า จะได้ไม่เสียเงิน เพราะถ้ารถเราเป็นรถปกติ ไม่มีการโมดิฟายด์อะไร ต่อให้หัวเทียน หรือสายหัวเทียน ดีขนาดไหน ก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก อีกทั้งการเปลี่ยนอุปกรณ์แค่ตัว 2 ตัว จะให้รถแรงขึ้นมากมาย นั้นคงไม่ใช่ มันต้องว่ากันทั้งระบบ ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/2008/12/09/news_318482.php RE: หัวเทียน หัวใจเครื่อง - Nobita - Mon, 05 Jan 09 21:45 [attachment=992] ความเหมาะสมในการใช้หัวเทียน ขึ้นอยู่กับการทำงานของเครื่องยนต์ เพราะเมื่อผู้ขัยขี่ใช้รถในสภาพหนัก เช่น ขับขี่ด้วยความเร็วสูง และเป็นเวลานาน หรือบรรทุกของหนัก ที่ต้องใช้กำลังมาก ต้องการการเผาไหม้สูง ห้องเผาไหม้จะมีความร้อนสูง ส่งผลให้มีความร้อนสะสมอยู่ในหัวเทียนมาก เช่นนี้ ควรใช้หัวเทียนเย็น เพราะจะระบายความร้อนได้ดี แต่ถ้าเป็นรถยนต์ที่ขับขี่ด้วยความเร็วต่ำ ในช่วงเวลาไม่นาน ควรใช้หัวเทียนชนิด หัวเทียนร้อน จะเกิดอะไรขึ้นกับการใช้หัวเทียน ไม่ตรงกับลักษณะการใช้งาน? 1. ใช้หัวเทียนร้อน กับเครื่องยนต์ ที่ทำงานหนัก และต่อเนื่องตลอดเวลา เป็นเวลานานๆ ความร้อนจะสะสมอยู่ในหัวเทียนมาก เมื่อความร้อนเพิ่มมากขึ้น จนถึงจุดหนึ่ง ก็มีโอกาส ที่จะเกิดการชิงจุดระเบิดก่อน เครื่องยนต์อาจได้รับความเสียหาย 2. ใช้หัวเทียนเย็น กับเครื่องยนต์ ที่ทำงานไม่หนัก เมื่อเกิดการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ หัวเทียนเย็น จะมีความสามารถในการระบายความร้อนได้เร็ว อุณหภูมิที่เกิดขึ้นตรงหัวเทียน มีโอกาสที่จะต่ำกว่าประสิทธิภาพที่ที่ควรจะเป็น จึงอาจเกิดคราบสกปรก ที่บริเวณหัวเทียน ซึ่งเป็นสาเหตุให้กระแสไฟวิ่งผ่านลำบาก เครื่องยนต์อาจวิ่งสะดุดได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตรถยนต์ ได้คำนวณความสามารถของหัวเทียน ที่ใช้กับเครื่องยนต์รุ่นต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยระบุไว้ที่คู่มือการใช้รถแต่ละรุ่น การเปลี่ยนหัวเทียน ควรยึดถือตามคู่มือประจำรถ เพราะจะเป็นหัวเทียนที่เหมาะสม สำหรับเครื่องยนต์รุ่นนั้น |