ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว
ปะการังฟื้นตัวแต่ยังอ่อนแอ-ปูทหารกลับมา ฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเกาะเสม็ด - Printable Version

+- ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว (http://www.thaibuddytrip.com/forum)
+-- Forum: ท่องเที่ยว Travel (/forumdisplay.php?fid=13)
+--- Forum: ทะเล หาดทราย เกาะ อ่าว (/forumdisplay.php?fid=24)
+--- Thread: ปะการังฟื้นตัวแต่ยังอ่อนแอ-ปูทหารกลับมา ฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเกาะเสม็ด (/showthread.php?tid=4188)



ปะการังฟื้นตัวแต่ยังอ่อนแอ-ปูทหารกลับมา ฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเกาะเสม็ด - PeRFuME - Fri, 02 May 14 11:26

[Image: samed_oil_spill.jpg]

คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ เปิดเผยงานนักวิจัยจากที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมงได้ลงพื้นที่สำรวจและติดตามระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในพื้นอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยองมากกว่า 40 จุดในระยะเวลา 6 เดือน พบว่าสภาพปะการัง 400-500 ก้อน ในพื้นที่อ่าวพร้าวที่จากเดิมพบว่ามีปะการังฟอกขาวในช่วงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมาเริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ จนปัจจุบันผ่านพ้นวิกฤตน้ำมันรั่วไป ไม่พบการฟอกขาวแล้ว แต่ยังมีการแสดงออกของโรคปะการัง เช่นลักษณะสีที่เปลี่ยนไปทำให้แม้ว่าจะไม่มีการฟอกขาวก็ยังไม่กลับสู่สภาพปกติ จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังติดตามต่อไปอย่างน้อย 1-2 ปี โดยขณะนี้มีการตรวจพบความปกติของน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิเย็นลงอย่างเห็นได้ชัด และหากในช่วงเดือนพ.ค.-มิ.ย.นำทะเลมีอุณหภูมิร้อนขึ้นฉับพลัน ก็อาจจะทำให้เกิดปะการังฟอกขาวฉับพลันได้
“สิ่งที่เป็นดัชนีชี้วัดระบบนิเวศในพื้นที่อ่าวพร้าว ที่นักวิจัยนำมาวิเคราะห์ร่วมกับเครื่องมือต่างๆ คือ ดูความหนาแน่นของปูทหาร และติดตามพฤติกรรม ที่จากเดิมปูทหารจะขุดรูเป็นแนวดิ่งลึก 50 เซนติเมตร แต่จากการติดตามพบว่าปัจจุบันปูทหารขุดรูลงไปเป็นแนวเฉียงและลึกเพียง 15 เซนติเมตรเท่านั้น บ่งชี้ได้วา ในพื้นที่ดินตะกอนยังคงมีการปนเปื้อนของคราบน้ำมันอยู่ และพบปูทหารในจำนวนที่น้อยกว่าปกติที่พบ 80 ตัวต่อตารางเมตร เหลือเพียง 40-50 ตัวต่อตารางเมตรเท่านั้น ขณะที่การตรวจสอบการปนเปื้อนสารไฮโดรคาร์บอนในหอยจำเป็นต้องนำหอยมาทำให้แห้งเพื่อมาตรวจการปนเปื้อนอีกครั้ง” ผศ.ดร.ธรณ์กล่าว

อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านพ้นวิกฤตน้ำมันรั่วแล้ว ในพื้นที่เกาะเสม็ดมีการพบเห็นกิจกรรมท่องเที่ยว อย่างซีวอล์กเกอร์ ในลักษณะมีหมวกกันน้ำและเดินลงไปสำรวจดูปะการังในบริเวณที่มีการวางทุ่น เพื่อกันพื้นที่ฟื้นฟูปะการัง อาจจะส่งผลต่อกระทบเพราะจะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของหน้าดินตะกอน และสารไฮโดรคาร์บอนจากคราบน้ำมันที่ยังคงตกค้างและปนเปื้อนจะเกิดการกระจายตัว ซึ่งยากต่อการที่จะให้ธรรมชาติเข้ามาฟื้นฟู จึงเสนอให้มีการเข้าไปติดตาม และเข้มงวดในกิจกรรมดังกล่าว