กระดุกพรุน ภัยเงียบทำให้เกิดกระดุกหัก - Printable Version +- ThaiBuddyTrip.com - เว็บคู่หูของคนชอบเที่ยว (http://www.thaibuddytrip.com/forum) +-- Forum: ประสบการณ์อื่นๆ (/forumdisplay.php?fid=1) +--- Forum: พูดคุยทั่วไป (/forumdisplay.php?fid=20) +--- Thread: กระดุกพรุน ภัยเงียบทำให้เกิดกระดุกหัก (/showthread.php?tid=3229) |
กระดุกพรุน ภัยเงียบทำให้เกิดกระดุกหัก - suraiya - Wed, 26 Sep 12 16:06 กระดูกพรุน.... ภัยเงียบ ทำให้เกิดกระดูกหัก หัวใจหลักของการป้องกันโรคกระดูกพรุน คือการสร้างกระดูกที่แข็งแรงและลดการสลาย ของกระดูกถ้าเรามีกระดูกที่แข็งแรงอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอาจทำให้เสียงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอายุก่อน 35 ปี ควรมีมวลกระดูกอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่มวลกระดูกจะลดต่ำลง จนถึงจุดที่ทำให้กระดูกเปราะบางและหักง่ายได้ ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน ดังนี้ บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน ได้แก่ เพศหญิง วัยหลังหมดประจำเดือน,หมดประจำเดือนก่อนก่อนอายุ 45 ปี และประจำเดือนมาไม่ปกติ เพศชาย ที่มีระดับฮอร์โมน testosterone ต่ำ และมีอายุมากกว่า 50 ปี บุคคลทั่วไป ที่มีลักษณะ - มีรูปร่างผอมหรือมีโครงร่างเล็ก - มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนมีประวัติกระดูกหักหลังการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย เช่น กระดูกข้อมือหักหลังการหกล้ม - มีภาวะข้ออักเสบ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ Iupus - ได้รับยาที่มีผลลดความแข็งแรงของกระดูก เช่น สเตียรอยด์ ยาต้านชัก ยาฮอร์โมนธัยรอยด์ หรือ Heparin - ขาดอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม - สูบบุหรี่ - ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวัน - ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ วิธีที่จะช่วยเพิ่มมวลกระดูก มีดังนี้ - เพิ่มปริมาณการบริโภคแคลเซียมและวิตามินดี จากอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม และวิตามินดีหรืออาหารเสริม - หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเล่นโยคะ,การเดิน หรือว่ายน้ำ ฯลฯ การป้องกัน โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ป้องกันได้ โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูกและการตรวจเลือด ซึ่งนอกจากจะช่วยประเมินอัตราการสร้างและอัตราการสลายของกระดูกแล้วยังหาสาเหตุร่วมอื่นที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ โภชนาการเพื่อป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน ควรรับประทานอาหารที่มี แคลเซี่ยม เช่น ปลาและกุ้งแห้งตัวเล็ก ปลาซาดีน งาดำ กะปิ งาขาว เนยแข็ง กุ้งแห้ง นมวัว โยเกิร์ต เต้าหู้ขาวอ่อน ผักใบเขียวจำพวก ผักคะน้าผัด ผักกะเฉดสุก และส้มเขียวหวาน เป็นต้น ข้อมูลโดย ศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลธนบุรี ### สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พีอาร์เอดี คอมมูนิเคชั่น จำกัด ตัวแทนที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ ขนิษฐา แสงจง (ต้า) Tel 085-502-9499 อีเมลล์ prad.communication@yahoo.com |